Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และ ธราดล เสาร์ชัยth_TH
dc.date.accessioned2020-08-25T08:36:22Z-
dc.date.available2020-08-25T08:36:22Z-
dc.date.issued2020-07-26-
dc.identifier.citationณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์และธราดล เสาร์ชัย (2563) "ชุมชนคลองเตยและกระบวนการออกแบบการพัฒนาเมืองแบบครอบคลุม" เอกสารประกอบการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า A20-25th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6887-
dc.description.abstractบทความนี้ได้แสดงให้เห็นความสำคัญของกระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ของชุมชนผุ้มีรายได้น้อยผ่านกระบวนการออกแบบครอบคุลม (Inclusive design) โดยอาศัยการปฏิบัติการภาคสนามของ “โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย” หรือสมาร์ท คอมมูนิตี้ในพื้นที่ท่าเรือคลองเตย เป็นข้อพิพาททางความคิดในการเปลี่ยนรูปร่างเมืองระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในชุมชน ปฏิบัติการออกแบบได้ดำเนินงานในช่วง เดือนเมษายนพ.ศ. 2561 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ในพื้นที่เครือข่ายชุมชนคลองเตย 26 ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างทางเลือกในการฟื้นฟูเมืองที่ได้ประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายที่ยอมรับได้ และ 2) เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกลไกการตัดสินใจของคนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อการพัฒนา โดยวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยภาคีสถาบันการศึกษาผ่านการเก็บข้อมูลและสำรวจกายภาพพื้นที่ ตลอดจนการสร้างพื้นที่เจราจาเพื่อรับฟังข้อมูลผู้อยู่อาศัยใน 8 ชุมชน ประกอบด้วย เงื่อนไข ความคาดหวัง ข้อจำกัด และวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูพื้นที่โดยใช้กลไกเครือข่ายชุมชนคลองเตย ผลผลิตของการศึกษาได้นำมาสู่การสร้างรูปแบบและตัวแบบของการพัฒนาพื้นที่เมือง ที่อยู่อาศัย ที่ครอบคลุมวิถีชีวิต เศรษฐกิจ โครงสร้างสังคม เพื่อสร้างกระบวนการเจรจากับเจ้าของที่ดิน โดยพบว่า ผลลัพธ์ของการศึกษาประกอบด้วย 1) การออกแบบครอบคุลมเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นปัญหา ข้อจำกัด ศักยภาพ และโอกาสจากมุมมองแบบร่วมแรงร่วมใจการพัฒนาพื้นที่อย่างรอบด้าน มากกว่าการออกแบบด้วยมุมมองแบบบนลงล่าง (Top-down design approach) 2) ได้เพิ่มอำนาจให้เกิดการสร้างกลไกร่วมที่ผนวกรวมเอาผู้ได้รับผลกระทบเข้าสู่กลไกในการตัดสินใจต่อการพัฒนาพื้นที่ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายกับเจ้าของที่ดินได้อย่างมีนัยสำคัญth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรth_TH
dc.subjectที่อยู่อาศัยth_TH
dc.titleชุมชนคลองเตยและกระบวนการออกแบบการพัฒนาเมืองแบบครอบคลุมth_TH
dc.typeArticleth_TH
Appears in Collections:ARC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khlong Toei inclusive design.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.