ปัญหาการบังคับใช้มาตรา 29 ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ กับผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ในสินค้าเฮ้าส์แบรนด์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์นี้ มุ่งเน้นศึกษามาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กรณีห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการใดๆ อันมิใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป๋นธรรม และมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือเพื่อมิให้ผู้อื่นประกอบธุรกิจ หรือต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ ในส่วนของพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม กรณีผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีอำนาจต่อรองสูงกว่า ทำให้ผู้ผลิตหรือผู้จัดหาสินค้า House Brand ให้ผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ ตกอยู่ในบานะเสียเปรียบ ระเบียบ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าว่าด้วยแนวทางพิจารณาการปฎิบัติทางการค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีกกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย พ.ศ. 2549 ในปัจจุบันเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฏหมายอื่นที่ใกล้เคียงในประเทศไทย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และหลักเกณฑ์กฏหมายของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศไต้หวันและประเทศญี่ปุ่น พบว่าหลักเกณฑ์หรือแนวทางตามมาตรา 29 รวมทั้งระเบียบดังกล่าวนั้น ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอท่สามารถนำไปใช้บังคับให้เกิดประสิทธิภาพได้จริง

คำอธิบาย

คำหลัก

พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542, การปฎิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม, สินค้าเฮ้าส์แบรนด์

การอ้างอิง

อรุณ ใสยจิตร์. 2558. "ปัญหาการบังคับใช้มาตรา 29 ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 : กรณีศึกษาการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ กับผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ในสินค้าเฮ้าส์แบรนด์." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.