กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7196
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานเพื่อสร้างโมเดลกรอบมาตรฐานวิชาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี งามขจรกุลกิจ
Wannee Ngamcachonkulkid
คำสำคัญ: โมเดล, ผู้ประกาศฯ, สมรรถนะ, กรอบมาตรฐานวิชาชีพ
Model, Broadcaster, Competencies, Professional Qualification Framework
วันที่เผยแพร่: 18-ธันวาคม-2020
สำนักพิมพ์: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วรรณี งามขจรกุลกิจ. (2563). "การศึกษาสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานเพื่อสร้างโมเดลกรอบมาตรฐานวิชาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์", ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2563 เรื่อง “ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”, (Proceedings). วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ณ อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพฯ, หน้า 1080-1089.
หมายเลขชุด/รายงาน: 1
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานอาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และเพื่อสร้างโมเดลสำหรับกรอบมาตรฐานวิชาชีพตามสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) แบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 34 คนที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานจัดอบรมผู้ประกาศฯ บุคลากรผู้ทำหน้าที่ผู้ประกาศ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ นักวิชาการ นักวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และนำคำตอบที่ได้ไปดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยสร้างเครื่องมือแบบประเมินระดับความสำคัญสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Competency and Performance Criteria) ผู้ประกาศฯ เพื่อการสร้างโมเดลสำหรับเป็นกรอบมาตรฐานวิชาชีพการเป็นผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผลการสนทนากลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความรู้และทักษะการใช้ภาษา ทักษะการสื่อสาร การอ่านออกเสียงและอักขรวิธีที่ถูกต้อง ส่วนของทัศนคติของผู้ประกาศนั้นต้องมีความเป็นกลาง คิดบวก สร้างสรรค์สังคม และการรู้เท่าทันสื่อในฐานะคนที่ทำงานสื่อสารมวลชน ส่วนผลวิจัยเกี่ยวกับระดับความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงาน พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมที่มีค่าคะแนนสูง 3 อันดับ ได้แก่ 1. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานด้านความรู้ ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบต่อสังคม 2. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 3. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านทัศนคติในการทำงานอาชีพผู้ประกาศ
รายละเอียด: การสร้างโมเดลสำหรับกรอบมาตรฐานวิชาชีพตามสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) แบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7196
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
075-วรรณี งามขจรกุลกิจ.pdf287.12 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น