Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7196
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณี งามขจรกุลกิจth_TH
dc.contributor.authorWannee Ngamcachonkulkidth_TH
dc.date.accessioned2021-01-20T08:05:08Z-
dc.date.available2021-01-20T08:05:08Z-
dc.date.issued2020-12-18-
dc.identifier.citationวรรณี งามขจรกุลกิจ. (2563). "การศึกษาสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานเพื่อสร้างโมเดลกรอบมาตรฐานวิชาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์", ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2563 เรื่อง “ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”, (Proceedings). วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ณ อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพฯ, หน้า 1080-1089.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7196-
dc.descriptionการสร้างโมเดลสำหรับกรอบมาตรฐานวิชาชีพตามสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) แบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพth_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานอาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และเพื่อสร้างโมเดลสำหรับกรอบมาตรฐานวิชาชีพตามสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) แบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 34 คนที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานจัดอบรมผู้ประกาศฯ บุคลากรผู้ทำหน้าที่ผู้ประกาศ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ นักวิชาการ นักวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และนำคำตอบที่ได้ไปดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยสร้างเครื่องมือแบบประเมินระดับความสำคัญสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Competency and Performance Criteria) ผู้ประกาศฯ เพื่อการสร้างโมเดลสำหรับเป็นกรอบมาตรฐานวิชาชีพการเป็นผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผลการสนทนากลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความรู้และทักษะการใช้ภาษา ทักษะการสื่อสาร การอ่านออกเสียงและอักขรวิธีที่ถูกต้อง ส่วนของทัศนคติของผู้ประกาศนั้นต้องมีความเป็นกลาง คิดบวก สร้างสรรค์สังคม และการรู้เท่าทันสื่อในฐานะคนที่ทำงานสื่อสารมวลชน ส่วนผลวิจัยเกี่ยวกับระดับความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงาน พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมที่มีค่าคะแนนสูง 3 อันดับ ได้แก่ 1. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานด้านความรู้ ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ ความรับผิดชอบต่อสังคม 2. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 3. ความสำคัญของสมรรถนะและเกณฑ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านทัศนคติในการทำงานอาชีพผู้ประกาศth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงาน กสทช.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.relation.ispartofseries1th_TH
dc.subjectโมเดล, ผู้ประกาศฯ, สมรรถนะ, กรอบมาตรฐานวิชาชีพth_TH
dc.subjectModel, Broadcaster, Competencies, Professional Qualification Frameworkth_TH
dc.titleการศึกษาสมรรถนะและเกณฑ์การปฏิบัติงานเพื่อสร้างโมเดลกรอบมาตรฐานวิชาชีพผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์th_TH
dc.typeArticleth_TH
Appears in Collections:CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
075-วรรณี งามขจรกุลกิจ.pdf287.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.