Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/723
Title: ปัญหาการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ในประเทศไทย
Authors: นิรุธ ตันวิมล
Keywords: คดีพาณิชย์
วิธีพิจารณาคดี
Issue Date: 12-February-2551
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปบแบวิธีพิจารณาความที่เหมาะสมและสอดคล้องกับประเพณีและแนวทางปฏิบัติทางการค้าพาณิชย์ โดยมุ่งที่จะให้ประเทศไทยมีการจัดระบบวิธีพิจาณาคดีพาณิชย์แยกต่างหากจากระบบวิธีพิจารณาคดีแพ่งโดยทั่วไปอย่างชัดเจน เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวล (Civil Law System) โดยมิได้มีการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์และหลักวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ออกจากระบบกฎหมายแพ่งและหลักวิธีพิจารณาคดีแพ่งแต่อย่างใด ทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาปรัชญาหรือหลักคิดในทางกฎหมายพาณิชย์ขึ้นได้ และมักจะต้องนำปรัชญาแลหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายแพ่งทั่วไปมาบังคับใช้กับนิติสัมพันธ์ทางการค้าพาณิชย์ ทำให้การตัดสินชี้ขาดคดีพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในระบบกฎหมายแพ่งในบางกรณีก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ขัดแย้งกับกับกรอบความคิดของการระงับข้อพิพาททางการค้าพาณิชย์ ซึ่งต้องการความสะดวก รวดเร็ว และต้องมีการตัดสินชี้ขาดโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในประเพณีปฏิบัติและหลักการที่มีใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าพาณิชย์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ถูกมองข้ามไป และเป็นการมองข้ามมาตั้งแต่เริ่มการจัดทำประมวลกฎหมายในประเทศไทย อันเป็นการขัดแย้งต่อสำนึกในความยุติธรรมของคนในวงการค้าพาณิชย์อย่างรุนแรง จนทำให้ระบบกฎหมายและระบบศาลของไทยไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากคู่ค้าชาวต่างประเทศเท่าที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อเนื่องให้สัญญาทางการค้าระหว่างพ่อค้าไทยและต่างประเทศมักถูกเรียกร้องให้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายต่างประเทศที่ใช้อนุญาโตตุลาการของต่างประเทศ และต้องไปฟ้องร้องดำเนินคดีกันในศาลต่างประเทศ ทำให้พ่อค้าไทยต้องเสียเปรียบ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็น อย่างยิ่ง ดังนั้นการปรับปรุงระบบกฎหมายพาณิชย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและจำเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การส่งเสริมกิจการค้าพาณิชย์ของไทย ทั้งจะช่วยเพิ่มพูนความยอมรับนับถือในระบบกฎหมายและการศาลของไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย สำหรับการดำเนินการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์ออกจากระบบกฎหมายแพ่งในประเทศไทยนั้น อาจมีได้ในหลายแนวทางด้วยกัน ซึ่งปัญหาสำคัญมิใช่อยู่ที่ว่าควรแยกประมวลกฎหมายพาณิชย์ออกจากประมวลกฎหมายแพ่งหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญก็คือกฎหมายพาณิชย์จะต้องช่วยส่งเสริมกิจการค้าให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และต้องสามารถคุ้มครองผู้ประกอบการค้าที่สุจริตไอ้อย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการศึกษาความเป็นไปได้ ในขั้นตอนแรกของการแยกระบบกฎหมายพาณิชย์นั้น เราควรที่จะต้องมีการพัฒนาหลักวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์ออกต่างหากจากกระบวนวิธีพิจารณาคดีแพ่งโดยทั่วไปเสียก่อน โดยให้มีระบบศาลชำนาญพิเศษแยกต่างหาก สำหรับพิจาณาพิพากคดดีพาณิชย์ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของการสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางกฎหมายพาณิชย์ขึ้น โดยการพัฒนาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นศาลทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าพาณิชย์มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไม่อาจที่จะแยกกันเด็ดขาดได้ โดยการพิจารณาคดีต้องคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมเป็นสำคัญ โดยได้กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบที่มีความรู้ความเข้าใจในทางการค้าพาณิชย์เข้าตัดสินคดีความร่วมกับผู้พิพากษาอาชีพภายในกรอบเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีที่แน่นอน และหากมีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการจัดวางระบบและกฎเกณฑ์กติกาในคดีพาณิชย์ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพ ลักษณะและความต้องการของกิจการค้าพาณิชย์ อันจะเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกิจการค้าพาณิชย์ของประเทศให้อยู่ในมาตรฐานสากลและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/723
Appears in Collections:สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.