Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7279
Title: ความสอดคล้องระหว่างค่าเฉลี่ยรวมกับคะแนนองค์ประกอบของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ของลูกค้าบ้านจัดสรรและอาคารชุดที่พักอาศัย
Other Titles: The Correspondence between Total mean and Factor score of Satisfaction in the 7Ps marketing mix of Housing estates and condominiums.
Authors: อำนาจ วังจีน
Amnart Vangjeen
Keywords: บ้านจัดสรร ความพึงพอใจ การวิเคราะห์องค์ประกอบ
Housing Satisfactory Factor Analysis
Issue Date: 18-December-2563
Publisher: สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: อำนาจ วังจีน. (2563). "ความสอดคล้องระหว่างค่าเฉลี่ยรวมกับคะแนนองค์ประกอบของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ของลูกค้าบ้านจัดสรรและอาคารชุดที่พักอาศัย", การวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน,18 ธันวาคม 2563. ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (น.70).กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีปทุม. หน้า 808 - 818.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และน้ำหนักองค์ประกอบความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับที่ของค่าเฉลี่ยกับลำดับที่ของคะแนนองค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยรวมกับคะแนนองค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และ 4) เปรียบเทียบผลการศึกษาความแตกต่างค่าเฉลี่ยและคะแนนองค์ประกอบความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ลูกค้าของธุรกิจบ้านและอาคารชุดสำหรับพักอาศัยประชากร คือ ลูกค้าที่พักอาศัยในบ้านจัดสรร ใช้ตัวอย่างจำนวน 1,800 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด ที่มีค่าความเที่ยงตรงมากกว่า 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.962 สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติทดสอบ เอฟ และ สถิติทดสอบ ที ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps ของลูกค้าบ้านจัดสรรและอาคารชุดที่พักอาศัยมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนประสมที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ รองลงมาเป็นด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านราคา และ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps ได้ค่า KMO=0.953 ให้ค่า Approx. 2=11973.148 มีค่า P-value <0.001 ด้านที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดได้แก่ ด้านบุคคลหรือพนักงานในองค์กร รองลงมาเป็น ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้าน การส่งเสริมการตลาด โดยลำดับที่ของค่าเฉลี่ยไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับลำดับที่ของน้ำหนักองค์ประกอบ แต่ค่าเฉลี่ยรวมและคะแนนองค์ประกอบของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps มีความสัมพันธ์กันสูงมาก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(r) เท่ากับ 0.992 และผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรวมและคะแนนองค์ประกอบของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps ระหว่างกลุ่ม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ให้ผลสอดคล้องกัน
Description: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7279
Appears in Collections:GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.