Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/738
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุรีย์พร จิรขวัญรักษ์-
dc.date.accessioned2551-02-13T07:52:50Z-
dc.date.available2551-02-13T07:52:50Z-
dc.date.issued2551-02-13T07:52:50Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/738-
dc.description.abstractจากภาวะการส่งออกที่ชะลอตัวลงนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมาได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศไทย และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซาธุรกิจเป็นจำนวนมากต้องทยอยปิดกิจการลงเรื่อย ๆ ดังนั้นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวและทำหน้าที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการทำงานของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ภาครัฐได้มีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบทางวิกฤตเศรษฐกิจที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) คือ มาตรการสินเชื่อเพื่อการบรรเทาปัญหาการขาดสภาพคล่องของ SMEs แต่พบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเกิดจากมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินของผู้ประกอบการจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME BANK) ที่ไม่เอื้อต่อการกู้ยืมของผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากปัญหาที่สำคัญในการปล่อยสินเชื่อของทางธนาคารคือ การขาดหลักประกันที่ดีการกู้ยืมเงิน อีกทั้งในการพิจารณาหลักเกณฑ์ของหลักประกันต่าง ๆ ในการให้สินเชื่อมีข้อจำกัดมากในการพิจารณารับไว้เป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อ ผลทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อหรือได้รับอนุมัติสินเชื่อแต่จำนวนสินเชื่อที่ได้รับน้อยกว่าที่ขออนุมัติสินเชื่อจึงไม่สามารถนำเงินจำนวนเหล่านั้นไปประกอบธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ในส่วนของประเทศไทยพบว่ายังไม่มีมาตรการหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์หรือรองรับการสนับสนุนตามแนวนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล แก่ผู้ประกอบการ SMEs อย่างแท้จริง ดังนั้นจึงเห็นควรหาแนวทางในการสนับสนุนและส่งเสริมแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน โดยกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่มีบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อควรจะมีการแก้ไขมาตรการบางอย่างทางกฎหมาย เพื่อเอื้ออำนวยให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักประกันที่ใช้ในการค้ำประกันสินเชื่อด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การใช้บุคคลในการค้ำประกัน การใช้สถาบันการค้ำประกันสินเชื่อ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้โดยการผ่อนปรนหลักเกณฑ์และคุณสมบัติต่าง ๆ อันเป็นข้อบังคับของทางธนาคารที่กำหนดไว้ ลดขั้นตอนของการอนุมัติสินเชื่อลงตลอดจนการพิจารณาเอกสารการประเมินราคาสินทรัพย์ให้มีความกระชับรวบรัดและลดขั้นตอนลง สำหรับปัญหาเกี่ยวกับจำนวนหน่วยงานของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจ SMEs ซึ่งในปัจจุบันมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ แนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ การออกกฎหมายรองรับเพื่อจัดตั้งสถาบันทางการเงินให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งจะต้องมีวัตถุประสงค์โดยตรงที่จะช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในด้านของเงินลงทุนเพื่อให้ครอบคลุมถึงความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่มีอยู่ทั่วภูมิภาค เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีแนวทางการออกกฎหมายเพื่อการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรองรับการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการเขียนโครงการแผนธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยการลดภาระหน้าที่ของธนาคารในการพิจารณาแผนโครงการธุรกิจของผู้ประกอบการในเบื้องต้นด้วยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectผู้ประกอบการen_US
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectการกู้ยืมเงินen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการให้กู้ยืมเงินสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.