Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/740
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโรงเรียนนานาชาติ: ศึกษากรณีการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว
Authors: ศักดิ์ชาย สว่างสาลี
Keywords: กฎหมาย
คนต่างด้าว
ธุรกิจโรงเรียน
โรงเรียนนานาชาติ
ครู
Issue Date: 13-February-2551
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และขอยกหัวข้อข่าวเกี่ยวกับครูคนต่างด้าวเป็นกรณีศึกษา เช่นคดีที่เกี่ยวกับหัวข้อข่าวกรณี “ครูฝรั่งโรงเรียนสาธิตชื่อดังก่อคดี “ตุ๋ยเด็ก” และหัวข้อข่าว “จับฆาตกรก้องโลกฆ่าหนูน้อย 6 ขวบ–นางงามเด็ก” ถึงแม้รัฐจะมีการป้องกันและควบคุม โดยกำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมาเพื่อดูแลการทำงานของคนต่างด้าวเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครู แต่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ครอบคลุม จึงเกิดประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว ได้แก่ (1) ปัญหาการอนุญาต ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร การเพิกถอนการอนุญาต (2) ปัญหาความไม่ชัดเจนของพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 (3) ปัญหาตัวครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายอย่างละเอียดแล้วยังพบปัญหาการขอรับใบอนุญาตทำงานจากกรมการจัดหางาน การขอใบอนุญาตให้เป็นครู การขอรับใบอนุญาตบรรจุครูซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบคุณวุฒิ และคุณสมบัติต้องห้ามหรือไม่ เป็นบุคคลที่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือขัดต่อความสงบสุขหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นบุคคลต้องห้ามหรือไม่ ที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ผลการวิเคราะห์จากการที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมถึงมาใช้บังคับ ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว และปัญหาสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือมาตรการการควบคุมคนต่างด้าว หากไม่มีการตรวจสอบจนเป็นที่แน่นอนเสียก่อนเกี่ยวกับตัวครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว อาจทำให้ใครก็ได้ที่เป็นคนต่างด้าวที่เป็นฆาตกร บุคคลต้องห้ามหรือบุคคลที่ไม่พึ่งปรารถนาแอบแฝงเข้ามาเป็นครูสอนหนังสือภายในประเทศ และเป็นแหล่งหลบซ่อนของคน ต่างด้าวที่กระทำผิดกฎหมาย ผู้เขียนเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและสภาพปัญหาในปัจจุบัน จึงสมควรแสวงหามาตรการทางกฎหมาย และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหามาตรการควบคุมป้องกันเกี่ยวกับตัวครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว เพื่อปิดช่องว่างของกฎหมาย หรือแก้ไข ปรับปรุงให้มีความชัดเจน โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นการแก้ไขในระยะยาวต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/740
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.