การเปิดรับสื่อ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และความเชื่อมั่น จากการสื่อสารแบรนด์ “ME by TMB”

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2564

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยเรื่อง “การเปิดรับสื่อ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และความเชื่อมั่นจากการสื่อสารแบรนด์ “ME by TMB” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อของลูกค้า ME by TMB 2) เพื่อศึกษาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ME by TMB และ 3) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นของลูกค้าจากการสื่อสารแบรนด์ “ME by TMB” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่เปิดรับสื่อ ME by TMB จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยสำหรับประชากรกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Independence) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way Analysis of Variance) ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ผลการวิจัยพบว่า ลูกค้าที่เปิดรับสื่อ ME by TMB ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.20 มีสถานภาพโสดร้อยละ 77.50 โดยมีอายุน้อยสุดที่ 18 ปี สูงสุด 60 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 28.40 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรีร้อยละ 80 มีอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 37.20 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-29,999 บาทร้อยละ 37.50 ในด้านการเปิดรับสื่อ ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูล และด้านความเชื่อมั่นจากการสื่อสารแบรนด์ ME by TMB อยู่ในระดับมาก

คำอธิบาย

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การเปิดรับสื่อ, ความน่าเชื่อถือของข้อมูล, ความเชื่อมั่นจากการสื่อสารแบรนด์

การอ้างอิง

กวี นิติพิทยานุศาสน์. 2561. "การเปิดรับสื่อ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และความเชื่อมั่น จากการสื่อสารแบรนด์ “ME by TMB”." วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.