กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7523
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการนำเสนอของพรรคการเมืองและการรับรู้ของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ทีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ปี 2562 ในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: FACTORS OF POLITICAL PARTY PRESENTATIONS AND PUBLIC PERCEPTION VIA ONLINE MEDIA AFFECTING THE DECISION TO ELECT POLITICAL PARTY 2019, IN BANGKOK
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คณากร คงประทีป
คำสำคัญ: การนำเสนอ
การรับรู้
สื่อออนไลน์
การตัดสินใจ
พรรคการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: คณากร คงประทีป. 2562. "ปัจจัยการนำเสนอของพรรคการเมืองและการรับรู้ของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ทีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ปี 2562 ในกรุงเทพมหานคร." วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง ปัจจัยการนำเสนอของพรรคการเมืองและการรับรู้ของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองปี 2562 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการนำเสนอของพรรคการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง ปัจจัยการรับรู้ข้อมูลพรรคการเมืองของประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินไจเลือกพรรคการเมือง และศึกษาการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 อายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและใช้สื่อออนไลน์จำนวน 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) อธิบายผลการวิเคราะห์ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Anaalysis) ทดสอบความแตกต่างใช้ค่าสถิติในการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 ประชากรหรือกลุ่มโดยสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน (Independent-Sample T-Test) โดยใช้สถิติ T-test และทดสอบค่าสถิติในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปโดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance : One way ABOVA) โดยใช้สถิติทดสอบแบบ F-Test ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Multiple Comparison)โดยวิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test และทำการวิเคราะห์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์สองตัวแปรโดยใช้สถิติทดสอบแบบ Peason's Correlation Coefficient ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปรผลในรูปแบบตารางประกอบคำอธบาน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7523
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น