กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7550
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนในฐานะสื่อวัฒนธรรมประชานิคม (POPULAR CULTURE) ของผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE COMMUNICATION THROUGH THE SMART PHONE AS POPULAR CULTURE FOR PEOPLE WITH HEARING DISABILITY IN BANGKOK
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์สุภา ศิริสุขเจริญพร
คำสำคัญ: ผู้บกพร่องทางการได้ยิน
พฤติกรรมการสื่อสาร
การใช้ประโยชน์
แอพพลิเคชั่น
สื่อวัฒนธรรมประชานิยม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: พงศ์สุภา ศิริสุขเจริญพร. 2561. "การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนในฐานะสื่อวัฒนธรรมประชานิคม (POPULAR CULTURE) ของผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตกรุงเทพมหานคร." วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนในฐานะสื่อวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พฤติกรรมการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนของผู้บกพร่องทางการได้ยินในขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยในการใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน ของผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจ (quantitative reaearch) เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎี โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเราะห์ด้วยวิธีทางสถิติต่างๆ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ (chi-square) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment) ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ผู้บกพร่องทางการได้ยินที่มีการใช้ดทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน (smartphone) ในเขตกรุงเทพมหานครและผู้ที่สื่อสารกับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ปกครอและเพื่อนของผู้บกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 100 คน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลกลุ่มพิเศษมีจำนวนประชากรน้อยกว่าคนปกติทั่วไปผู้ศึกษาจึงทำการเก็บข้อมูลเพียง 100 คน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น