กองทุนหมู่บ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านผือ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
กำลังโหลด...
วันที่
2546
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน และการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านผือ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 252 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันจึงเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน และการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน อยู่ในระดับมาก
2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยกลุ่มที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมีความคิดเห็นว่ากองทุนหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน
3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยเพศชายมีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุ 31-40 ปี และอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มอายุ 41-50 ปี และกลุ่มที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศและอายุ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยเพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมากกว่าเพศหญิง และกลุ่มอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มอายุ 31-40 ปี และกลุ่มอายุ 41-50 ปี
คำอธิบาย
คำหลัก
กองทุนหมู่บ้าน, เศรษฐกิจชุมชน