มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล กรณีถูกล่วงละเมิดโดยการส่งข้อความสั้น

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2564

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การล่วงละเมิด โดยการส่งข้อความสั้น เป็นการล่วงละเมิด โดยอาศัยเทคโนโลยีกาติดต่อสื่อสาร ที่ทำได้โดยง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว ได้ในปริมาณมาก และสามารถหลีกเลี่ยงการที่จะต้องเปิดเผยตัว หรือ ถูกจับได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่า การล่วงละเมิดโดยการส่งข้อความสั้นนี้ สามารถกระทำได้หลายกรณี เช่น การส่งข้อความสั้นโฆษณาสินค้า การส่งข้อความสั้นที่มีเนื้อหาชวนให้ชิงโชคหรือการพนัน และ การส่งข้อความสั้นในลักษณะของการหลอกลวง ซึ่งสารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาปัญหามาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากการถูกล่วงละเมิดโดยการส่งข้อความสั้นในลักษณะของการหลอกลวง โดยเกิดจากบุคคลบางกลุ่มที่ทำการฉวยโอกาสในการประกอบกิจกรรมบางประการ อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะ มีแต่เพียงกฎหมายที่ใกล้เคียงที่สุด ที่อาจนำมาใช้บังคับได้ในบางประเด็นเท่านั้น และปัญหาการล่วงละเมิดโดยการส่งข้อความสั้นในลักษณะของการหลอกลวงดังกล่าวนี้ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบถึงสิทธิส่วนบุคคลในความเป็นส่วนตัว ที่ถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยทั่วไป และการส่งข้อความยังผู้รับในบางครั้งอาจก่อให้เกิดความรำคาญและเกิดความเสียหายตามมา ซึ่งมีความแตกต่างจากกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เนื่องจากประเทศดังกล่าวมาข้างต้นนี้ มีการกำหนดให้การถูกละเมิด โดยการส่งข้อความสั้น เป็นความผิดตามกฎหมายและมีการบัญญัติกฎหมายในความผิดดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ จากการศึกษากฎหมายของต่างประเทศข้างต้น พบว่าประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นปะเทศที่มีข้อกฎหมาย และนโยบายที่สามารถกำกับดูแลปัญหาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดโดยการส่งข้อความสั้นได้ครบถ้วนและครอบคลุมที่สุดจากบรรดาประเทศทั้งหมดที่ทำการศึกษา โดยครอบคลุมถึงการส่งข้อความสั้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) การบริการส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS) การบริการทางข้อความที่สามารถแนบข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหว ภาพสี และไฟล์บางประเภทไปกับข้อความ (MMS) และบริการสนทนาบนอินเตอร์เน็ต (IM) ซึ่งมีการกำหนดให้ผู้ส่งข้อความต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับข้อความก่อนจึงจะสามารถส่งข้อความถึงผู้รับได้

คำอธิบาย

คำหลัก

มาตรการทางกฎหมาย, การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล, กรณีถูกล่วงละเมิดโดยการส่งข้อความสั้น

การอ้างอิง

อลงน์กรณ์ อนุรัตน์พานิช. 2556. "มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล กรณีถูกล่วงละเมิดโดยการส่งข้อความสั้น." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.