Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7782
Title: การอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย เพื่อการพัฒนา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน
Authors: อานนท์ พรหมศิริ ณัฐวุฒิ กิ่งตระการ ณภัทร ประศาสน์ศิลป์
Keywords: การอนุรักษ์, ชุมชนมอญบางเหี้ย, เรือนพื้นถิ่น, แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน
Issue Date: December-2021
Publisher: ห้างหุ้นจำกัด พิมพ์ทันใจ
Citation: เกรียงไกร เกิดศิริ, วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ และธนิก หมื่นคำวัง. (2563). เมืองเก่ากับการอนุรักษ์และ พัฒนา. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2557). นิเวศวิทยสถาปัตย์. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิวัฒน์ เตมียพันธ์. (2559). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น : รวมบทความทางวิชาการในงานสถาปัตยกรรมพื้น ถิ่น. ทริปเพิ้ลกรุ๊ป ดวงกมล สินเพ็ง. (2551) การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง : กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศักดิ์ศรี ปาณะกุล, นิรมล ศตวุฒิ, ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2559) หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง มงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ และกฤติญา แก้วพิทักษ์ ; ผู้แปลเอกสาร : จินดารัตน์ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2560). 50 แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สถาบันวัฒนธรรมศึกษา. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม : หอวัฒนธรรมนิทัศน์. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ลดา พันธ์วร, รัชดาพร ศรีภิบาล, ชนาภรณ์ แสวงทรัพย์. (25
Abstract: เรือนพื้นถิ่นถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงรากเหง้าทางภูมิวัฒนธรรม บ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลา และบริบทที่แตกต่างกันนั้น สามารถสะท้อนที่เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องบันทึกเรื่องราวจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านงานช่างสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วยเหตุและหลักที่คำถึงการใช้สอยและการดำรงชีวิตของผู้อาศัยผนวกเข้ากับความเชื่อของท้องถิ่นที่ถูกผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย ตำบลคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันเหลือคงอยู่จำนวนไม่มาก เพียง 3-4 หลังคาเรือน แต่กลับแสดงลักษณะแสดงเฉพาะตัวของเรือนได้ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยผู้วิจัยพบว่าเป็นเรือนไทยไม้ริมน้ำยกใต้ถุนสูง สร้างเป็นเรือนแฝด 2 หลัง ภายในประกอบไปด้วยวิถีที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมระหว่าง จีน ไทย มอญ ที่ทรงคุณค่าภายในอาคาร ภายนอกอาคารส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา การซ่อมบำรุงใช้ทุนทรัพย์สูง นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เรือนพื้นถิ่นแบบเดิมจึงไม่สามารถตอบสนองความเป็นอยู่แบบใหม่ได้ ทำให้ทายาทปัจจุบันต้องมีการปรับพื้นที่ให้ตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น เรือนเดิมจึงถูกทิ้งไว้เป็นเพียงแค่มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมและภูมิปัญญา ซึ่งทำการสำรวจและพูดคุยกับทายาทของเจ้าของเรือนเพื่อวางนโยบายในการอนุรักษ์ป้องกันการทำลายคุณค่าของเรือนพื้นถิ่นเก่า เพื่อให้คงไว้เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรม และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนมอญบางเหี้ย ที่สะท้อนถึงการปะทะสังสรรค์กันระหว่างเชื้อสาย มอญ จีน ไทย ในด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และการสร้างใหม่
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7782
Appears in Collections:ARC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.