Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7803
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไพบูลย์ ปัญญาคะโปth_TH
dc.date.accessioned2021-11-30T08:44:22Z-
dc.date.available2021-11-30T08:44:22Z-
dc.date.issued2564-10-28-
dc.identifier.citationไพบูลย์ ปัญญาคะโป (2564) ค่าการยืดตัวของเหล็กเสริมอัดแรงแบบดึงเหล็กทีหลังของคานสะพานรูปตัวยู การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564 วันที่ 28 ตุลาคม 2564 หน้าที่ 2069-2079.th_TH
dc.identifier.isbnISBN (e-book) 978-974-655-469-5-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7803-
dc.description.abstractการเสื่อมลดแรงอัดเนื่องจากแรงเสียดทานในเหล็กเสริมอัดแรงของคอนกรีตอัดแรงแบบดึงเหล็กทีหลัง เป็นการเสื่อมลดแรงส่วนที่สำคัญในกระบวนการอัดแรง ในขณะเดียวกัน ค่าการยืดตัวของเหล็กเสริม จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงอัดประสิทธิผลของเหล็กเสริมอัดแรง ในการก่อสร้างจริง ค่าความคลาดเคลื่อนของการยืดตัวเปรียบเทียบระหว่างการคำนวณที่ออกแบบไว้และค่าการวัดจริงในสนามไม่ควรเกินค่าการยืดตัวที่ยอมให้ ตามมาตรฐานการออกแบบ บทความนี้ นำเสนอการศึกษาค่าการยืดตัวของเหล็กเสริมอัดแรง ของคานสะพานคอนกรีตอัดแรงดึงเหล็กทีหลังรูปตัวยู ตามมาตรฐานกรมทางหลวง โดยเก็บข้อมูลการวางแนวเหล็กเสริมในงานก่อสร้างจริงของคานรูปตัวยูจำนวน 5 ชุด เพื่อนำมาคำนวณค่าการเสื่อมลดแรงอัดของเหล็กเสริมในสนามเปรียบเทียบกับค่าการเสื่อมลดแรงอัดที่คำนวณออกแบบไว้ และนำไปใช้คำนวณหาค่าการยืดตัวของเหล็กเสริม เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง ค่าการยืดตัวที่ออกแบบเดิม ค่าการยืดตัวที่วิเคราะห์จากแนวการวางเหล็กเสริมจริง และค่าการยืดตัวที่วัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดจริง ผลการศึกษาพบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยระหว่างการยืดตัวที่ได้จากการวิเคราะห์แนวการวางเหล็กเสริมจริงกับการยืดตัวที่ตรวจวัดได้ในสนามด้วยเครื่องมือตรวจวัด เท่ากับ 3.21 % ค่าความคลาดเคลื่อนในสนามที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของการยืดตัวระหว่างการออกแบบและกระบวนการติดตั้ง เท่ากับ 2.31% ทำให้ค่าความคลาดเคลื่อนโดยเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 5.51% เกินกว่าเกณฑ์ที่ยอมให้ (5.0%) ทั้งนี้ค่าความคลาดเคลื่อนในสนามนี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42% ของค่าความคลาดเคลื่อนทั้งหมด ดังนั้นความคลาดเคลื่อนในสนาม จึงส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อค่าการยืดตัวโดยรวมของเหล็กเสริม ดังนั้น จึงเสนอแนะให้ติดตั้งแนวการวางเหล็กเสริมอัดแรงอย่างระมัดระวังในขั้นตอนการก่อสร้างth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectFriction lossth_TH
dc.subjectpost-tension concreteth_TH
dc.subjectelongationth_TH
dc.subjectprestressing steelth_TH
dc.subjectU-girderth_TH
dc.titleค่าการยืดตัวของเหล็กเสริมอัดแรงแบบดึงเหล็กทีหลังของคานสะพานรูปตัวยูth_TH
dc.typeArticleth_TH
Appears in Collections:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ค่ากายืดตัวของเหล็กเสริมอัดแรง.pdf479.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.