การศึกษาการทดสอบกำลังในหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2564-10-28

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

บทความนี้เป็นงานวิจัยร่วมระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมกับทางโรงซ่อมหัวรถจักรดีเซลบางซื่อ ในรายวิชาสหกิจศึกษา ในการนำหัวรถจักรมาตรวจสอบการทำงานและทดสอบกำลังเพื่อหาจุดบกพร่องและจุดที่เกิดความเสียหายก่อนจะนำออกไปใช้งานรวมถึงหัวรถจักรที่เกิดปัญหาระหว่างการใช้งาน ซึ่งทางโรงซ่อมหัวรถจักรดีเซลมีเครื่องจำลองสภาวะการทำงานจริงหรือเครื่อง Load Test เพื่อจำลองภาระการทำงานในสภาวะต่างๆ ว่าจะเกิดปัญหาข้อบกพร่องที่สาเหตุอะไรบ้าง โดยได้ทำการเก็บข้อมูลและนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างหัวรถจักร 3 รุ่น จำนวน 32 ขบวน ได้แก่ รุ่น ALS จำนวน 19 ขบวน รุ่น GEA จำนวน 8 ขบวน และรุ่น GEK จำนวน 5 ขบวน ซึ่งจากการทดสอบและเก็บข้อมูลพบว่า ปัญหาที่เกิดสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ 1.)อุณภูมิน้ำหล่อเย็นสูงเกินค่ามาตรฐาน 2 รุ่น ประกอบด้วย รุ่น ALSTHOM คิดเป็น 55 % จากทั้งหมด 19 ขบวน รุ่นGEA คิดเป็น 25 % จากทั้งหมด 8 ขบวน 2.)ปัญหาจากหัวรถจักรไม่มีกำลังลากจูง พบจำนวน 3 รุ่น คือ รุ่น ALS คิดเป็น 9 % จากทั้งหมด 19 ขบวน รุ่น GEA คิดเป็น 25 % จากทั้งหมด 8 ขบวน รุ่น GEK คิดเป็น 67 % จากทั้งหมด 5 ขบวน 3.)ปัญหาจากเครื่องยนต์หยุดทำงานระหว่างมีโหลด พบจำนวน 2 รุ่น คือรุ่น ALS คิดเป็น 27 % จากทั้งหมด 19 ขบวน และรุ่น GEA คิดเป็น 25 % จากทั้งหมด 8 ขบวน จากข้อมูลผลการทดสอบที่ได้นี้ ทำให้โรงซ่อมหัวรถจักรดีเซลบางซื่อ สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อใช้อ้างอิงในการปรับจูนเครื่องยนต์ของหัวรถจักรทั้ง 3 รุ่น ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการเกิดการขัดข้องระหว่างการใช้งานจริงหรือเครื่องยนต์ดับระหว่างทาง รวมถึงการบ่งบอกสมรรถนะปัจจุบันของแต่ละขบวนเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อการวางแผนซ่อมบำรุงใหญ่ในขบวนที่เสื่อมสภาพ

คำอธิบาย

คำหลัก

การทดสอบกำลัง, หัวรถจักรดีเซล, การปรับจูน, กำลังลากจูง

การอ้างอิง

การรถไฟแห่งประเทศไทย.(2012).เอกสารประกอบการฝึกอบรมพนักงาน ตามโครงการ THE IMPROVEMENT OF RAILWAY TRAINING CENTER โดยความร่วมมือระหว่าง JICA & SRT.กรุงเพท:การรถไฟแห่งประเทศไทย.