Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7874
Title: ระยะตรวจจับสูงสุดและความสว่างต่ำสุด ในการติดตั้งระบบสายพานลำเลียง สำหรับคัดแยกโลหะ อโลหะและการคัดแยกสี
Other Titles: -
Authors: เติมพงษ์ ศรีเทศ
พศวีร์ ศรีโหมด
เอกชัย ดีศิริ
ธนภัทร พรหมวัฒนภักดี
Keywords: โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
Issue Date: 28-October-2021
Publisher: SpuCon2021
Citation: -
Series/Report no.: -
Abstract: ชุดสาธิตเครื่องคัดแยกวัสดุประเภทโลหะ อโลหะและสี มีการใช้งานร่วมกับสายพานลำเลียง โดยจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ โดยใช้โปรแกรมคำสั่งที่ทำหน้าที่เหมือนวงจรรีเลย์ ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องจักร ทำให้เครื่องจักรทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยระบบจะตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ อโลหะด้วยพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ ระยะในการตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะไม่ควรเกิน 29 เซนติเมตร และอโลหะไม่ควรเกิน 18 เซนติเมตร จากนั้นจะคัดแยกสีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงินด้วยการใช้ตัวตรวจรู้แบบไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ซึ่งการทดสอบการตรวจและคัดแยกสี กระทำภายใต้สภาวะที่ควบคุมแสงรบกวนจากภายนอกในที่ความสว่าง 3,291 LUX แบบปิดทึบ ทำให้ได้ผลการทดสอบที่แม่นยำมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ต่ำ จากผลการทดลองพบว่าที่ได้จากเซนเซอร์ R G B มีระยะความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย ดังนี้ วัตถุที่เป็นโลหะ เซนเซอร์ R G B เมื่อทดสอบกับชิ้นงานสี Yellow Red Blue จะมีค่า 37.1±0.32, 59.9±1.65, 264.2±4.24 (เซนเซอร์ R), 47±0.47, 182.4±2.99, 138.2±1.03 (เซนเซอร์ G) และ 71.5±1.96, 125±1.15, 57.3±1.95 (เซนเซอร์ B) และเมื่อเป็นวัตถุอโลหะ ผลการทดสอบเซนเซอร์ R G B กับชิ้นงานสี Yellow Red Blue จะมีค่า 37±0.47, 57.6±2.76, 277.6±4.12 (สำหรับเซนเซอร์ R), 46.6±2.01, 180.6±1.26, 137.7±2.98 (สำหรับเซนเซอร์ G) และ , 71.7±2.79, 121.6±2.83 ,54.3±2.63 (สำหรับเซนเซอร์ B)
Description: -
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7874
ISBN: 9789746554695
Appears in Collections:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.