สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พุทธศักราช 2540

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2564

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พุทธศักราช 2540 นั้น เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ ต้องการให้ประชาชนมีโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ อีกทั้งยังคุ้มครองสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบกระบวนการทำงานของระบบราชการให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้ยึดหลักว่า “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” นั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการและเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารบ้านเมือง ทำให้การใช้อำนาจของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส ตามคำที่ว่า “รัฐทำอะไร รัฐรู้อะไร ประชาชนต้องรับรู้อย่างนั้น” จากการศึกษาปัญหาผู้วิจัยเห็นว่าพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พุทธศักราช 2540 พบว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการยังไม่มีหลักประกันความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและหลุดพ้นจากอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริงเนื่องจากขาดความเป็นอิสระในเชิงสถานะและโครงสร้างขององค์กรรัฐที่เป็นอิสระ เนื่องจากคณะกรรมการส่วนใหญ่ล้วนถูกแต่งตั้งมาจากฝ่ายบริหารเกือบทั้งสิ้นทำให้อาจถูกฝ่ายบริหารครอบงำหรือแทรกแซงกระบวนการทำงานหรือในการทำคำวินิจฉัยได้ง่ายขาดการเป็นอิสระในการทำงาน และการแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารจะพิจารณาจากเกณฑ์บรรทัดฐานใด เพราะในกรณีที่ผู้ที่มาเป็นคณะกรรมการมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานและประโยชน์สาธารณะได้ จึงเห็นควรมีการแก้ไขในปัญหาดังกล่าวคือ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการสาขาต่างๆ ต้องเป็นหน่วยงานอิสระไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร เพื่อมีอิสระในการกำหนดกรอบ หลักเกณฑ์ กติกา ในการสรรหาคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ให้เป็นระบบที่โปร่งใสและมีความเป็นกลาง นอกจากนี้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พุทธศักราช 2540 มาตรา 11 ที่บัญญัติว่า “นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้ว หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร” ซึ่งคำว่า “เวลาอันสมควร” ควรกำหนดระยะเวลาไว้ให้เป็นจำนวนวันที่ชัดเจน เช่น 15-30วันเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิของตนตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พุทธศักราช 2540 ได้มากขึ้นและลดความล่าช้าในการบริการประชาชนให้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้การเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ นั้นลดน้อยลง

คำอธิบาย

คำหลัก

สิทธิ, การรับรู้, ข้อมูลข่าวสาร, พระราชบัญญัติ

การอ้างอิง

ทรงพล ชูเวช. 2554. "สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พุทธศักราช 2540." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.