กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง กฎหมายส่งเสริมการลงทุนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุนของไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าไทยมีการส่งเสริมการลงทุนโดยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ที่มีการส่งเสริมน้อยกว่า ให้ความสำคัญในแนวเชิงปฏิบัติการ ไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้นโยบายเปิดประเทศสู่โลกกว้าง ปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าการลงทุนขององค์การการค้าโลก และข้อตกลงต่าง ๆ ที่เข้าเป็นภาคีร่วมพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีกฎหมายว่าด้วยการลงทุนชาวต่างชาติ ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ฉบับใหม่ที่มีการส่งเสริมที่กว้างขวางครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับการลงทุนของต่างชาติ ความเหมือนและแตกต่างของกฎหมายราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนก็คือ ข้อจำกัดการลงทุนตามบัญชีรายการ ทั้งสองประเทศก็มีส่วนคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทรัพยากรของชาติ วัฒนธรรม การศึกษา และที่แตกต่างคือ ไทยจำกัดอาชีพสงวนสำหรับคนไทย องค์กรส่งเสริมของไทยคือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีอำนาจควบคุมในการอนุญาต ตรวจสอบ ส่วนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีหน้าที่เพียงส่งเสริม เผยแพร่ ชักจูงให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ไม่มีอำนาจควบคุม ตรวจสอบอนุญาต แต่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ลงทุน การวิจัยเสนอแนะให้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการลงทุนให้มีความเป็นสากลสอดคล้องกับข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศ และ ร่วมมือกับประเทศในอาเซียนผนึกกำลัง เพื่อต่อรองและสร้างสมดุลอำนาจการลงทุน ควรมีมาตรการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล สำหรับนักลงทุนไทยเสนอแนะให้ศึกษารายละเอียดและสิทธิประโยชน์ในการลงทุนที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

คำอธิบาย

คำหลัก

กฎหมาย, การลงทุน, ไทย, สาธารณรัฐประชาชนจีน

การอ้างอิง

ประพันธ์ สันติวิทยวงศ์. 2564. "กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง กฎหมายส่งเสริมการลงทุนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน." บทความ สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.