Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8210
Title: การสร้างตัวละครในหนังสือการ์ตูน และแอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่อง “ดาบพิฆาตอสูร”
Other Titles: The arts of characterization for comic book and anime “Demon Slayer”
Authors: นับทอง ทองใบ
Keywords: การสร้างตัวละคร การ์ตูน อนิเมะ การเล่าเรื่อง
Characterization, Manga, Anime, Narrative
Issue Date: 28-October-2564
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ข่าวสดออนไลน์. (2564). ดราม่าสนั่น ฝ่ายปกครองห้ามนักเรียน ใส่เสื้อคลุม 'ดาบพิฆาตอสูร' หากเจอโดนยึด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564, จาก: https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6179661 จรูญพร ปรปักษ์ประลัย. (2560). คู่มือนักเขียน. กรุงเทพฯ: แสงดาว. ชุติมา มณีวัฒนา. (2558). หลักการวิเคราะห์และตีความบทละคร. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. นับทอง ทองใบ. (2555). กลวิธีการเล่าเรื่องและการสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละครในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม. นับทอง ทองใบ. (2561). การสร้างคอนเทนต์ใน “เน็ตฟลิกซ์” ตามแนวคิดการเล่าเรื่อง. หนังสือประมวลบทความ การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 ประจำปี 2561, วันที่ 20 ธันวาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 1094-1103. ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ และกฤษบดินทร์ วงค์คำ. (2562). สรรค์สร้างเรื่องเล่าสู่สากล: ละคร ซีรีส์ทีวีดราม่า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไทยรัฐออนไลน์. (2564).“ดาบพิฆาตอสูร” อนิเมะรายได้สูงสุด กู้วิกฤติเศรษฐกิจญี่ปุ่นช่วงโควิด-19 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564, จาก: htt
Abstract: บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างตัวละคร เรื่องดาบพิฆาตอสูร ทางหนังสือการ์ตูน แอนิเมชันทางโทรทัศน์ และภาพยนตร์ที่มีความแตกต่างจากเรื่องแนวเดียวกันและมีความเป็นสากล ซึ่งพบว่ามีประเด็นน่าสนใจคือ 1. ตัวละครเอกแตกต่างไปจากตัวเอกแนวเรื่องแบบต่อสู้ และเน้นสร้างฮีโร่แบบเดียวกันที่มักสร้างตัวเอกให้มีด้านลบในตัว โดยตัวเอกอย่างทันจิโร่มีความเป็นฮีโร่ในอุดมคติที่จิตใจดี อ่อนโยน ไม่หวั่นไหวต่อความชั่วร้าย 2. ความเป็นฮีโร่ที่เป็นสากลต้องมาจากความพยายามของตนเองไม่ใช่โชคช่วย สิ่งของหรือพลังวิเศษ 3. ตัวละครเติมคุณค่ามนุษย์ตามอุดมคติสากล โดยออกแบบตัวละครที่มีความเป็นชายและหญิงในคนเดียวกัน และสร้างตัวละครที่มีความเท่าเทียมและหลากหลายทางเพศ 4.การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่รู้จักในระดับสากลแฝงลงไปในตัวละครที่สะท้อนปัจเจกบุคคลตามบริบทปัจจุบันจะช่วยให้เรื่องมีเอกลักษณ์และเข้าถึงผู้บริโภคในระดับสากลได้
Description: บทความวิชาการวิเคราะห์คอนเทนต์ อนิเมะ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8210
Appears in Collections:CMU-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.