Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8254
Title: พุทธทัศนะเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
Other Titles: Buddhist Vision for Renewing Modern Thai Society of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto)
Authors: ธนภณ สมหวัง
Dhanapon Somwang
Keywords: พุทธทัศนะ
สังคมไทยสมัยใหม่
พุทธธรรม
พุทธศาสนา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
สังคมไทย
Issue Date: 19-March-2022
Publisher: วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Citation: ธนภณ สมหวัง.(2022).พุทธทัศนะเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8 และนานาชาติครั้งที่ 1 วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำ ปี 2565. (น.220-233). ลำพูน : วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: บทความนี้ ผู้เขียนต้องการศึกษาถึงทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอหลักพุทธธรรมเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านงานนิพนธ์สำคัญของท่าน ผลการศึกษาพบว่า ผลงานหลักของท่านนอกเหนือจากการนำเสนอหลักพุทธธรรมที่บริสุทธิ์ ท่านยังได้วิเคราะห์ถึงแก่นแท้ของสภาพปัญหาของสังคมไทย ที่ได้พัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญสมัยใหม่ตามแบบอย่างสังคมตะวันตก จนปัจจุบันนี้สังคมไทยตกอยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ สังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาทั้งหมด อันสืบเนื่องมาจากอารยธรรมตะวันตก นั่นคือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด(มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ โดยมีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครองและพิชิตธรรมชาติได้ การมองเพื่อนมนุษย์แบบแบ่งแยก และการมองจุดมุ่งหมายชีวิตของมนุษย์ว่า จะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีวัตถุเสพบำเรอ ท่านจึงนำเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ อันมีสาระสำคัญอยู่บนพื้นฐานที่ว่า สรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงอิงอาศัยกันและกัน โดยต่างเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันและกัน ซึ่งจะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคลทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน ทัศนะของท่านจึงเป็นแนวทางสำคัญอย่างหนึ่งต่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่The purpose of this article is to study the Buddhist viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation and application Buddhadhamma for renewing modern Thai society by studying and analyzing through his important works. The result of this study shows that his main works, in addition to presenting the Buddhadhamma and also analyzed the essence of the problems of Thai society, that has developed the country into a modern civilization according to western society. Until now, Thai society is under the era of globalization. Therefore, Thai society today is not confronting problems due to globalization alone, which is only a matter of the era, but critical problem which is the basis of all other human problems, resulting from western civilization, that is “the problem of wrong basis of thoughts” or “the wrong paradigm”. He indicated that now culture is based on the belief that human is superior to nature, can overcome and control nature. Therefore, human can control, manage and consume nature. This wrong belief leads to the crisis of human and society in today. The world, now, is global and borderless but human’s mind is not. He has presented his Buddhist views with a Buddhist paradigm. Its essence is based on to see the truth that all things are related as cause and effect (dependent origination). In his opinion, the Buddhist paradigm will create a balance between body, mind, society and nature. It will lead to integration to make the sustainable and stable solution for man, society, and nature. His Buddhist viewpoint is alternative solution for renewing modern Thai society.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8254
Appears in Collections:GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
015 ธนภณ สมหวัง.pdf619.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.