มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์สมาร์ตโฟน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟนก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ กล้าวคือ การถูกคิดค่าบริการเสริมการรับข้อมูลผ่านทางข้อความสั้นโดยที่ผู้ใช้โทรศัพท์มิได้มีเจตนาที่จะรับบริการ การถูกรบกวนความเป็นส่วนตัวโดยโฆษณาผ่านทางข้อความสั้น (SMS Spam) นอกจากนี้ การโฆษณาขายสินค้าผ่านทางโทรศัพท์โดยระบบต่อสายอัตโนมัตินั้นก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครอง และในปัจจุบันหมายเลขโทรศัพท์ยังไม่ได้มีการระบุว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอย่างชัดเจน ผลการศึกษาพบว่า การที่ผู้ประกอบการคิดค่าบริการเสริมการรับข้อมูลผ่านทางข้อความสั้นดดยที่ผู้ใช้โทรสัพท์มือถือมิได้มีเจตนาที่จะรับบริการเป็นการก่ออาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่ยังไม่มีกฎหมายกำหนดโทษไว้โดยเฉพาะ การโฆษณาผ่านทางข้อความสั้น (SMS Spam) โดยที่ผู้บริโภคไม่ยินยอมนั้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิที่จะไม่รับข้อความนั้น โดยหากผู้บริโภคไม่ประสงค์จะรับข้อความนั้นก็ต้องสามารถบอกเลิกได้ การโฆษณาสินค้าผ่านระบบต่อสายอัตโนมัติก็เป็นการรบกวนและสร้างความรำคาญให้แก่ผู้บริโภคเช่นเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีกฎหมายฉบับใดให้ความคุ้มครอง สำหรับหมายเลขโทรศัพท์แม้จะมีร่างพระราชบัญญัติข้อมูลส้วนบุคคลจะระบุถึงนิยามของคำว่าข้อมูลส่วนบุคคลไว้ แต่มิได้ระบุว่าหมายเลขโทรศัพท์นั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่

คำอธิบาย

คำหลัก

คุ้มครองผู้บริโภค, โฆษณา, โทรศัพท์มือถือ

การอ้างอิง

วรรณเพ็ญ คงทอง. 2557. “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการโฆษณาสินค้าผ่านโทรศัพท์สมาร์ตโฟน.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.