Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8399
Title: การพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
Other Titles: The Development Activities to Enhance Soft Skills in the Workplace for Undergraduate Students of Phuket Rajabhat University
Authors: ธนกรณ์ ชัยธวัช
สิรินธร สินจินดาวงศ์
Keywords: ซอฟท์สกิลล์
การพัฒนา
ระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
Issue Date: August-2565
Publisher: วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2) เพื่อออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ 3) เพื่อเปรียบเทียบจรณทักษะ (Soft Skills) ใน ก าร ท ำง า นสำ หรับ นัก ศึก ษา ร ะ ดับ ปริญ ญา ต รี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ใช้บัณฑิตในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 5 คน และตัวแทนนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 จำนวน 156 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงสาหรับการทดสอบสมติฐาน ใช้ค่า Paired – Samplet-test ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานของนักศึกษาโดยจัดลำดับความสำคัญ 3 ลำดับแรก ดังนี้ ความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน ทักษะการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ 2) การออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นักศึกษาทั้ง 5 คณะ จัดรูปแบบของหลักสูตรแบ่งเป็น 2ส่วน คือ การบรรยาย เชิงปฏิบัติการ และการจัดกิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ แผนการจัดกิจกรรมกำหนด 7 ขั้นตอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) 3) การ เปรียบเทียบจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อน และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ การประเมินการวัด Soft Skills (ก่อนการพัฒนา-หลังการพัฒนา) ในภาพรวม จำแนกเป็นรายด้าน โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.63 และโดยรวมหลังการพัฒนา อยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.76 ผลการเปรียบเทียบSoft Skillsในการทำงานหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8399
Appears in Collections:SITI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ธนกรณ์ ชัยธวัช 2565.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.