Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8477
Title: ปัญหาทางกฎหมายการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: LEGAL ISSUES ON EDUCATIONAL DECENTRALIZATION TO THE LOCAL GOVEREMENT ORGANIZATIONS
Authors: ชาญเกียรติ ไกรฤกษ์
Keywords: กระจายอำนาจทางการศึกษา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ชาญเกียรติ ไกรฤกษ์. 2565. “ปัญหาทางกฎหมายการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: ระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การบริหารและจัดการศึกษาของรัฐแบ่งเป็นสามระดับ คือ ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดว่าการบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับกระทรวง ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับสถานศึกษา ซึ่งแนวทางในการจัดการบริการสาธารณะเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยึดแนวคิดการจัดการศึกษา ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดวิธีการกระจายอำนาจทางการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุก ระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น และมาตรา 42 ให้กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัด การศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะการจัดสรร งบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การถ่ายโอนและกระจายภารกิจของรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำาเนินการนั้น เนื่องจากหลักการความเป็นอิสระของท้องถิ่น (Local Autonomy) นับได้ว่าเป็นหลักการที่สำาคัญ เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละองค์กรย่อมจำาเป็นต้องมีความเป็นอิสระของตนเอง โดยที่รัฐบาลหรือองค์กรอื่นไม่ควรต้องเข้าไปแทรกแซง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดการศึกษาให้เกิดคุณภาพเช่นเดียวกับสถานศึกษาในรูปแบบอื่น บทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ขาดหลักการเกี่ยวกับระบบโอนและระบบการรับโอน งบประมาณ และการจัดการศึกษาท้องถิ่น ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดข้อจำกัดในการบริหารงาน ดังนั้น ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพิ่มบทบัญญัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับระบบโอนและระบบการรับโอน งบประมาณ และการจัดการศึกษาท้องถิ่น เพื่อให้การจัดการศึกษาในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคุณภาพและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในระบบการศึกษาในประเทศไทย โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกบุคลากรเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาโดยนำหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้ในการคัดเลือก ให้รัฐยังมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ให้จัดสรรงบประมาณโดยคำนึงถึงนโยบายและความจำเป็น จากจำนวนนักเรียน และการให้ความช่วยเหลือพิเศษแก่ท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคณะกรรมการการศึกษา เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ โดยการคัดเลือกคณะกรรมการศึกษาให้เป็นประชาชนหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการศึกษา โดยต้องไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8477
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.