Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8481
Title: การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: THE PREPARATION FOR RETIREMENT OF THAI PRIVATE UNIVERSITY LECTURERS IN BANGKOK METROPOLITAN AND PERIPHERY
Authors: ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์
Keywords: การเตรียมความพร้อม
การเกษียณอายุ
อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
กรุงเทพและปริมณฑล
Issue Date: January-2565
Publisher: วารสารวิิชาการ มหาวิิทยาลััยราชภััฏกาญจนบุุรีี
Citation: ปีีที่่ 11
Series/Report no.: ฉบัับที่่ 1
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียม ความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 3) เสนอแนวทางสำหรับการเตรียมตัว เกษียณอายุสำหรับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา เอกชนในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติพรรณนาที่นำมาวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติอนุมานที่นำมาทดสอบสมมติฐานคือ สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุงานของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านจิตสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และทัศนคติต่อการเตรียมความพร้อม เพื่อเกษียณอายุอยู่ในระดับมาก เมื่อทดสอบความต่างของปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีผลต่อการ เตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุ สถานภาพทางการสมรส รายได้ต่อเดือน และความเพียงพอของรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุต่างกัน 2) ปัจจัย ด้านจิตสังคมและปัจจัยด้านทัศนคติต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุมีความสัมพันธ์ทางบวก กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ และ 3) แนวทางการเตรียมตัวเกษียณอายุสำหรับอาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้แก่ (1) ควรสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับการติดต่อเพื่อช่วยเหลือกัน (2) ควรมี การวางแผนทางการเงินที่ดี (3) ควรให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพ มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ควรเข้ามา ช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น การให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อม
Description: ในช่วงเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โครงสร้างประชากรของโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มประชากรสูงอายุที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2050 ประชากรโลกจะมีมากกว่า 9 พันล้านคน และในจำนวนนี้ ประชากรกว่า 2 พันล้านคน เป็นผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยนั้น ประชากรได้เข้าสู่สังคมสูงอายุ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าจากปี พ.ศ. 2503 ที่มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพียง 1.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 4.02 ล้านคนในปี พ.ศ. 2533 และในปี พ.ศ. 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 7.7 ล้านคน ปัจจุบันผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุ บุคคลจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8481
ISSN: 2286-7589
Appears in Collections:BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.