ปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญาในธุรกิจรักษาความปลอดภัย

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์เล่มนี้มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และทฤษฎีเกี่ยวกับการบังคับใช้โทษทางอาญาในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ตลอดจนพิจารณากฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายของรัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา ไอร์แลนด์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย จากการศึกษากฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย พบว่า กฎหมายฉบับนี้ได้นำมาตรการโทษทางอาญามาใช้บังคับกับบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจรักษาความปลอดภัยในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษทางอาญา ไม่หมาะสมกับลักษณะทั่วไปของผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย รวมทั้งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในการให้อำนาจแก่นายทะเบียนในการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต และหลังจากได้รับใบอนุญาตแล้วก็ไม่มีการกำหนดหน้าที่ในการแจ้งนายทะเบียนเมื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ทำให้เกิดอุปสรรคแก่นายทะเบียนในการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐาน ของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัยของประเทศไทย เกี่ยวกับการบังคับใช้โทษทางอาญาในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต และนายทะเบียน เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากยิ่งขึ้น

คำอธิบาย

คำหลัก

การบังคับใช้โทษทางอาญา, ธุรกิจรักษาความปลอดภัย

การอ้างอิง

อธิบดี นิลดำ. 2565. "ปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญาในธุรกิจรักษาความปลอดภัย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.