กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8662
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบดาต้าวิชวลไลเซชั่นเพื่อการวิเคราะห์และการทำนายผลความสำเร็จ กรณีศึกษา : โครงการ Digital Lending ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE DEVELOPMENT OF DATA VISUALIZATIONS FOR ANALYZING AND PREDICTING WITH KEY PERFORMANCE INDEX CASE STUDY : THE DIGITAL LENDING PROJECT OF BANK FOR AGRICULTURE AND AGRICULTURAL COOPERATIVE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ สวรรค์โพธิ์พันธุ์
คำสำคัญ: แดชบอร์ด
ดาต้าวิชวลไลเซชัน
เพาเวอร์บีไอ
การอำนวยสินเชื่อทางดิจิทัล อีทีแอล
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ณรงค์ สวรรค์โพธิ์พันธุ์. 2564. "การพัฒนาระบบดาต้าวิชวลไลเซชั่นเพื่อการวิเคราะห์และการทำนายผลความสำเร็จ กรณีศึกษา : โครงการ Digital Lending ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร." สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การปรับเปลี่ยนประเทศไทยสู่บริบทใหม่ในยุคดิจิทัล จึงมีความสำคัญต่อการนำดทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นกุญแจสำคัญช่วยนำพาให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทย มีความอยู่ดีมีสุข มีระบบเสรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อความเจริญที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ดังนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณืการเกษตร (ธ.ก.ส.)จึงริเริ่มโครงการอำนวยสินเชื่อทางดิจิทัล (Digital Lending) ผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Application) เพื่อแสดงถึงความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคาร ซึ่งหากธนาคารมีระบบการติดตามและการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้บริหารระดับสูงและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตัดสินใจดำเนินการได้อย่างถูกต้องและทันกาลนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาระบบดาต้าวิชวลไลเซชั่น (Data Visualization) ในรูปแบบแดชบอร์ด (Dashboard) โดยใช้โปรแกรมเพาเวอร์บีไอ (Power BI) ผ่านกระบวนการ อีทีแอล (ETL) เพื่อทำการวิเคราะห์และการทำนายผลความสำเร็จของโครงการ DigitalLending ผลการวิจับพบว่า ระบบดาต้าวิชวลไลเซชั่นที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถสนับสนุนให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ใช้ในการติดตามและประเมินผลโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงคืการวิจัยที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ผลการประเมินระดับความพึงพอใจในประสิทธิผลโดยรวมของผู้บริหารระดับสูงและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.94) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24
รายละเอียด: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8662
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:INF-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
64504523 นายณรงค์ สวรรค์โพธิ์พันธุ์.pdf4.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น