Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8686
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวนายุทธ์ แสนเงิน, กุลธิดา ศรีเผือก, จิรศักดิ์ บุญจงรักษ์ และ รชา เพริศพิพัฒน์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-21T09:12:44Z-
dc.date.available2022-11-21T09:12:44Z-
dc.date.issued2565-11-17-
dc.identifier.citationวนายุทธ์ แสนเงิน, กุลธิดา ศรีเผือก, จิรศักดิ์ บุญจงรักษ์ และ รชา เพริศพิพัฒน์, "การระบุพิกัดตำแหน่งและแผนภูมิของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในอาคารด้วยบลูทูธพลังงานต่ำ", The 45th Electrical Engineering Conference (EECON45), 16-18 พฤศจิกายน 2565 ณ ภูสักธาร รีสอร์ท นครนายก.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8686-
dc.descriptionปัจจุบันในระบบการขนย้าย ขนถ่ายสินค้าวัสดุแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ ด้วยเอจีวี ( AGV :Automated Guided Vehicle) ถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมแทนแรงงานมนุษย์ แต่ AGV มีข้อจำกัดในเรื่องข้อจำกัดในเรื่องเส้นทางการเคลื่อนที่ การเปลี่ยนแปลงเส้นทางอาจทำได้ยาก ซึ่งหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ หรือเอเอ็มอาร์ (ARM : Autonomous Mobile Robot) จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น งานบริการเสริฟอาหาร การเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในเรื่องเส้นทางการเคลื่อนที่ ด้วยระบบระบุพิกัดตำแหน่งและแผนภูมิ การประมวลผลเส้นทางที่สั้นที่สุดไปยังตำแหน่งปลายทาง ทั้งยังสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางแบบอัตโนมัติ ทั้งนี้ระบบระบุพิกัดตำแหน่งภายในอาคาร มีการนำระบบเครือข่ายระบุพิกัดตำแหน่งด้วยสัญญาณบลูทูธพลังงานต่ำ (BLE) โดยระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ BLE ในอาคารสำนักงาน [1] รวมถึงระบุตำแหน่งบุคคลในสถานที่พักอาศัย [2] และการระบุพิกัดตำแหน่งและสร้างแผนภูมิ [3] ร่วมกับอัลตร้าโซนิกเซนเซอร์ ซึ่งค่าพิกัดตำแหน่งนั้น สามารถนำมากำหนดพิกัดให้กับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งปลายทาง โดยหากมีการเปลี่ยนตำแหน่ง หรือกำหนดพิกัดปลายทางใหม่ ในส่วนของพิกัดหุ่นยนต์จะมีการปรับเปลี่ยนพร้อมกับพิกัดใหม่และแผนภูมิ สำหรับการเคลื่อนที่หุ่นยนต์ โดยภายในอาคารส่วนใหญ่มีการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย MIST Access Point จาก Juniper Inc., [4] ได้ผลิตอุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สายที่ภายในติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่เรียกว่า มาตรฐานบลูทูธพลังงานต่ำ (Bluetooth Low Energy: BLE) และมาตรฐานไวไฟ (Wi-Fi) มีคุณสมบัติในการสื่อสารได้ ในระยะที่ไกล สามารถระบุตำแหน่งสิ่งของจากสัญญาณบลูทูธที่อยู่ภายในรัศมีของเครือข่ายได้อย่างแม่นยำและใช้งานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา โดยนำพิกัดตำแหน่งมาคำนวณในรูปแบบของพิกัดหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนไปยังตำแหน่งเป้าหมายปลายทางผ่านสัญญาณบูลทูธพลังงานต่ำในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบระบุพิกัดตำแหน่งหุ่นยนต์ภายในอาคารด้วยอุปกรณ์กระจายสัญญาณบลูทูธ โดยส่งพิกัดให้กับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเป้าหมายแบบอัตโนมัติth_TH
dc.description.abstractบทความนี้นำเสนอการระบุพิกัดตำแหน่งและแผนภูมิของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ภายในอาคารด้วยสัญญาณบลูทูธพลังงานต่ำ (BLE) โดยอุปกรณ์ MIST Access Point ใช้การระบุตำแหน่งรูปแบบ Probability Surfaces จากการตรวจจับค่า RSSI ที่รับส่งระหว่างอุปกรณ์ BLE และ MIST Access Point จำนวน 4 ตัว ร่วมกับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ขับเคลื่อนอิสระแบบสองล้อ การทดลองระบุตำแหน่งจาก BLE กำหนดพิกัดจำนวน 8 ตำแหน่งเป้าหมาย ให้กับหุ่นยนต์ในการเคลื่อนที่ และหลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วย LiDAR เซนเซอร์ มีค่าเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำ 90% และค่าความผิดพลาดตำแหน่งหุ่นยนต์ เฉลี่ยตามแนวแกน x เท่ากับ 0.058 เมตร และตามแนวแกน y เท่ากับ 0.032 เมตรth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectบลูทูธพลังงานต่ำth_TH
dc.subjectพิกัดตำแหน่งและแผนภูมิth_TH
dc.subjectหุ่นยนต์เคลื่อนที่th_TH
dc.titleการระบุพิกัดตำแหน่งและแผนภูมิของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในอาคารด้วยบลูทูธพลังงานต่ำth_TH
dc.typeWorking Paperth_TH
Appears in Collections:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
EECON45_LPS.pdfการระบุพิกัดตำแหน่งและแผนภูมิของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในอาคารด้วยบลูทูธพลังงานต่ำ501.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.