Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8871
Title: อิทธิพลของคุณสมบัติของแอปพลิเคชันสั่งอาหารที่มีต่อผลการปฎิบัติงานของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี
Authors: ณัฐกิจ โกศล
สุธินี มงคล
Keywords: Food Delivery Application Features, Job Performance, Food Delivery Riders
Issue Date: June-2565
Publisher: มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
Citation: ณัฐกิจ โกศล และ สุธินี มงคล. (2565). อิทธิพลของคุณสมบัติของแอปพลิเคชันสั่งอาหารที่มีต่อผลการปฎิบัติงานของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 1, มกราคม - มิถุนายน 2565. หน้า 138-150.
Series/Report no.: วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 1, มกราคม - มิถุนายน 2565.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณสมบัติแอปพลิเคชันสั่งอาหารที่มีอิทธิพลด้านทัศนคติ ความตั้งใจใช้ต่อ และผลการทำงานของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ พนักงานส่งอาหารที่ประจำจุด ในอำเภอเมืองชลบุรี โดยแบ่งเป็นตำบลดังนี้ ตำบลมะขามหย่ง ตำบลบ้านสวน ตำบลเสม็ด ตำบลคลองตำหรุ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณสมบัติของแอปพลิเคชันสั่งอาหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย = 4.18 (S.D. = 0.75) กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนอันดับแรก คือ ด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย = 4.38 (S.D. = 0.71) อันดับสอง คือ ด้านการควบคุม ( = 4.21, S.D. = 0.75) อันดับสาม คือ ด้านฟังก์ชัน ( = 4.13, S.D. = 0.81) อันดับสี่ คือ ด้านการออกแบบ ( = 4.13, S.D. = 0.75) และ อันดับห้า คือ ด้านความสะดวก ( = 4.09, S.D. = 0.74) ตามลำดับ ส่วนผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารของพนักงานส่งอาหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.10 (S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอันดับแรก คือ ด้านทัศนคติ ( = 4.22) อันดับที่ 2 คือ ด้านผลการทำงาน ( = 4.12) และอันดับที่ 3 คือ ด้านความตั้งใจใช้ต่อ ( = 3.97) ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ รายได้ ประสบการณ์ทำงานในการส่งอาหาร (ไรเดอร์) พื้นที่ในการส่งอาหาร และจำนวนคำสั่งชื้อเฉลี่ย/วัน มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารด้านทัศนคติ ความตั้งใจใช้ต่อ และผลการทำงาน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ไม่มีอิทธิพลด้านทัศนคติ ความตั้งใจใช้ต่อ และผลการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8871
ISSN: 2673-0618
Appears in Collections:BUS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.