Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9111
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สุนัขนำทางสำหรับคนพิการทางสายตา
Other Titles: LEGAL ISSUES REGARDING THE USE OF GUIDE DOGS FOR A PERSON WITH VISUALLY IMPAIRED
Authors: รัตนาวลัย สรเดช
Keywords: สุนัขนำทาง
คนพิการทางสายตา
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: รัตนาวลัย สรเดช. 2565. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สุนัขนำทางสำหรับคนพิการทางสายตา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สุนัขนำทางสำหรับคนพิการทางสายตา เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ไม่มีการกำหนดนิยามและประเภทของสุนัขนำทางที่ชัดเจน ไม่มีกฎหมายกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาตสำหรับการใช้สุนัขนำทางเป็นการเฉพาะ ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งในแง่มุมของคนพิการทางสายตาที่ไม่สามารถใช้สุนัขนำทางได้จริง รวมถึงแง่มุมของบุคคลทั่วไปที่ไม่สามารถทราบถึงวิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องต่อสุนัขนำทางได้ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาคำนิยามสุนัขนำทาง พบว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 (8) ไม่ได้กำหนดคำนิยามของสัตว์นำทางไว้ว่าหมายความถึงสัตว์ประเภทใดบ้าง ทั้งยังไม่มีการกำหนดประเภทของสัตว์นำทางไว้ให้ชัดเจน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการตีความ และก่อให้เกิดปัญหาแก่บุคคลทั่วไปในการปฏิบัติตนต่อสัตว์นั้นด้วย เนื่องจากการปฏิบัติตนต่อสัตว์เลี้ยงและสัตว์นำทางที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการนำทางให้แก่คนพิการทางสายตานั้นจะปฏิบัติไม่เหมือนกัน รวมถึงการเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ก็ย่อมมีความแตกต่างกันไปด้วย 2) ปัญหาเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสัตว์นำทาง พบว่าแม้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 (8) จะกำหนดให้คนพิการทางสายตามีสิทธิที่จะใช้สัตว์นำทาง แต่ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสุนัขนำทางไว้ รวมถึงกระบวนการทดสอบและฝึกฝน เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติของการเป็นสุนัขนำทาง จึงเป็นการยากที่คนพิการทางสายตาจะสามารถใช้สุนัขนำทางได้ 3) ปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลสัตว์นำทาง พบว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 (8) พบว่า ไม่ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลสัตว์นำทางไว้ เนื่องจากสุนัขนำทางถือเป็นสุนัขที่ต้องดูแลและปกป้องชีวิต รวมถึงร่างกายของผู้พิการทางสายตา ทำให้การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำหน้าที่ของสุนัขดังกล่าวต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทดสอบสุขภาพร่างกาย สายตา และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับสุนัขนำทาง ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับการใช้สุนัขนำทาง ประกอบด้วย (1) กำหนดคำนิยามของสัตว์นำทาง (2) กำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนสัตว์นำทาง (3) กำหนดหลักเกณฑ์ให้มีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลสัตว์นำทาง
Description: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9111
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.