Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9115
Title: ปัญหาการกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
Other Titles: PROBLEM OF PROVIDING THE PERIOD OF TIME FOR SUBMITTING AN APPLICATION TO STATE AGENCY CONSIDERING THE COMPENSATION
Authors: วารุณี วงศาทิพย์
Keywords: ระยะเวลาการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ
กำหนดระยะเวลา
การยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กฎหมายความรับผิดทางละเมิด
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วารุณี วงศาทิพย์. 2565. "ปัญหาการกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: การยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Submitting an Application to State Agency Considering the Compensation) ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (Act of Liability for a Wrongful Act of the Officials B.E. 2539 (1996)) มิได้มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐไว้อย่างชัดเจนว่าผู้เสียหายจะต้องยื่นคำขอภายในระยะเวลาใด สารนิพนธ์นี้จึงมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหทดแทน(Compensation) โดยเปรียบเทียบจากหลักกฎหมายความรับผิดทางละเมิด (Principle of Law on Liability for a Wrongful Act) กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (Law on Liability for a Wrongful Act of the Officials) ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) (Opinion of the Council of State (Special Committee)) คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด (Decision of the Supreme Administrative Court) คำวินิจฉัยของศาลฎีกา (Decision of Supreme Court) รวมทั้งกฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายเยอรมัน(French Law and German Law) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการกำหนดระยะเวลาการยื่นคำขอดังกล่าว ให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับระบบกฎหมายไทยที่เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law System) เพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เหมาะสมกับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ จากการศึกษาพบว่า ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) และคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายจะต้องยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Civil and Commercial Code) หรือตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999)) แล้วแต่กรณี จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายดังกล่าว จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับกำหนดระยะการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) และคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด แต่เนื่องจากการกำหนดเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอก หากปรากฏว่าอายุความฟ้องคดีครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคำขอของหน่วยงานของรัฐ จึงเห็นควรให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายอายุความฟ้องคดีออกไปด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหาย รวมถึงเสนอให้แก้ไขข้อความในเรื่องสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สอดคล้องกับกฎหมายปัจจุบันโดยให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง (Right to File a Lawsuit to the Administrative Courts) ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด พ.ศ. 2539 หรือศาลยุติธรรม ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แล้วแต่กรณี หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนเช่นนี้แล้ว อาจทำให้ผู้เสียหายทราบว่าควรดำเนินการยื่นคำขอตามกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งยังเกิดความเป็นธรรม (Fairness) แก่ทุกฝ่าย อันเป็นการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ (State Agency) ให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่อีกด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9115
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.