การแก้ไขคำสั่งทางปกครองที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กำหนดไว้ระหว่างพิจารณาคดีของศาลปกครอง

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2566

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์นี้เป็นงานนิพนธ์ทางนิติศาสตร์ที่มุ่งศึกษาการแก้ไขคำสั่งศาลปกครอง (Administrative Order) ที่ออกโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฏหมายกำหนดไว้ระหว่างพิจารณาคดีของศาลปกครอง (Administrative Court) ซึ่งโดยหลักทั่วไปของคำสั่งทางปกครองที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กำหนดไว้ ต้องถือว่าคำสั่งทางปกครองนั้นเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย (Unlawful Administrative Order) โดยองค์กรตุลาการทางปกครอง (Administrative Judiciary) มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองดั่งกล่าวได้แม้บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (Administrative Procedure Act B.E. 2539) (1996) จะมีการบัญญัติให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องได้ แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของกำหนดระยะเวลาซึ่งต้องแก้ไขก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาขั้นอุทธรณ์ (Appeal Process) ของฝ่ายปกครอง หรือต้องแก้ไขก่อนที่จะมีการนำคดีไปสู่การพิจารณาของศาลปกครอง ประกอบกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่บกพร่องในเรื่องของขั้นตอนหรือวิธีการโดยไม่พิจารณาเนื้อหาของคำสั่งด้วยแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาว่า ในกรณีที่ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งที่บกพร่องในเรื่องของขั้นตอนหรือวิธีการแล้ว กรณีดังกล่าวหากเป็นเหตุให้ฝ่ายปกครองต้องกลับไปทำคำสั่งที่บกพร่องในเรื่องของขั้นตอนหรือวิธีการแล้ว กรณีดังกล่าวหากเป็นเหตุให้ฝ่ายปกครองต้องกลับไปทำคำสั่งมาใหม่โดยต้องดำเนินการที่มีเนื้อหาเช่นเดิมแล้ว อาจสร้างขั้นตอนอันถือเป็นภาระให้ฝ่ายที่รับคำสั่งทางปกครองต้องกลับไปใช้สิทธิดำเนินคดีโดยขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งทางปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง

คำอธิบาย

คำหลัก

คำสั่งทางปกครอง, คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย, การฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กำหนด, คดีระหว่างพิจารณาของศาล, หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฏหมาย, ระยะเวลาในการแก้ไขข้อบกพร่องของคำสั่งทางปกครอง, การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง, คดีปกครอง, ศาลปกครอง

การอ้างอิง

ธนพงษ์ วงศ์เสรี. 2565. “การแก้ไขคำสั่งทางปกครองที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กำหนดไว้ระหว่างพิจารณาคดีของศาลปกครอง.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.