กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9189
ชื่อเรื่อง: การศึกษาและเปรียบเทียบระบบพลังงานทดแทนเพื่อควบคุมโรงเลี้ยงไก่ไข่ขนาดเล็กชนิดสมดุลอุณหภูมิในระบบควบคุมแบบย้อนกลับและไม่สมดุลอุณหภูมิ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขใจ พรมประสานสุข
ปริญญา มากสืบมี
พีรัชชัย กระจ่างสด
สุริพงษ์ ไทยเจริญ
อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ
คำสำคัญ: การควบคุมแบบย้อนกลับ
สมดุลอุณหภูมิ
ไม่สมดุลอุณหภูมิ
ไอโอที
พลังงานทดแทน
วันที่เผยแพร่: 27-ตุลาคม-2565
สำนักพิมพ์: การประชุมวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 15
บทคัดย่อ: เกษตรกรรมในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนจากในอดีต เนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีมีความรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การเลี้ยงสัตว์หรือการปลูกพืชในพื้นที่จากัด ซึ่งหมายความถึงการทาเกษตรกรรมในระดับครัวเรือน หรือมีพื้นที่ขนาดเล็ก ที่สามารถวางอุปกรณ์โรงเรือนขนาดเล็กที่ทางผู้วิจัยได้ศึกษาขนาดพื้นที่ 0.64 ตารางเมตร ความสูง 1 เมตร อย่างไรก็ตามโรงเรือนขนาดเล็กที่ทางผู้วิจัยได้สร้างยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งชุดสอบใช้กระแสไฟ 4.63 แอมแปร์ต่อวัน รวมใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้า 70.40 ยูนิตต่อเดือน ซึ่งหากในระหว่างเดือนนั้น หากเกิดข้อผิดพลาดในการทางานของอุปกรณ์ควบคุมจะส่งผลต่อการทดสอบ ดังนั้นจึงได้มีแนวทางในการหาพลังงานสารองหรือพลังงานทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกสาหรับการทดสอบโดยใช้แผ่นโซล่าเซลล์ขนาด 550 วัตต์ 48โวลต์, โซล่าชาร์ทเจอร์ รองรับกระแสไม่เกิน 60 แอมป์, อินเวอร์เตอร์ 24 โวลต์ 1500 วัตต์, แบตเตอรี่จานวน 2 ลูก 12 โวลต์ 100 แอมป์-ชั่วโมง ต่ออนุกรมเพื่อให้ได้แรงดันไฟ 24 โวลต์ 100 แอมป์-ชั่วโมง โดยติดตั้งเป็นแบบผสมโดยใช้สวิทซ์สลับแหล่งจ่ายไฟอัตโนมัติ สาหรับการทดสอบนี้ พบว่า ในช่วงเวลากลางวันสามารถใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์และพลังงานส่วนที่เหลือยังไปเก็บไว้ที่แหล่งสารองไฟในช่วงเวลากลางคืน จากการคานวณหากต้องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้ครอบคลุมการทางานต้องเพิ่มแบตเตอรี่จากเดิม 2 ลูกเป็น 4 ลูก โดยต่อแบบขนาน เพื่อให้ได้แรงดัน 24 โวลต์ 200 แอมป์-ชั่วโมง และความคุ้มทุนจากการเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าและราคาที่ได้จากไข่หน้าฟาร์ม สาหรับช่วงเวลาการทดสอบ 8 เดือน พบว่า การควบคุมอุณหภูมิชนิดสมดุลอุณหภูมิ (ภายในห้องทดสอบ) และการควบคุมอุณหภูมิชนิดไม่สมดุลอุณหภูมิ (ภายใต้สภาวะแวดล้อม) ได้มูลค่าไข่ตามค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(ไข่เบอร์ 3) คือ 4,963.20 และ 3,164.04 บาท สาหรับไก่ 4 ตัว ตามลาดับ และจากการคานวณจุดคุ้มทุนสามารถทาโดยการเพิ่มปริมาณไก่ไข่ จากเดิม 1 ตัว เป็น 8 ตัว จะทาให้ได้ทุนคืนภายในระยะเวลา 8 เดือน โดยงานวิจัยนี้ไม่ได้มีเจตนาในการทรมานสัตว์แต่อย่างใด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9189
ISBN: 978-616-941-2809
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความวิชาการ 2565.pdf1.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น