Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9251
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์: กรณีเจ้าของอวัยวะยังมีชีวิตอยู่ให้ความยินยอม
Other Titles: LEGAL ISSUES REGARDING HUMAN ORGAN TRAFFICKING: A CASE STUDY OF BEING GRANTED BY LIVING OWNERS
Authors: วรินทร ม้าเฉี่ยว
Keywords: การค้าอวัยวะ
เจ้าของอวัยวะให้ความยินยอม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วรินทร ม้าเฉี่ยว. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์: กรณีเจ้าของอวัยวะยังมีชีวิตอยู่ให้ความยินยอม." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ กรณีเจ้าของอวัยวะยังมีชีวิตอยู่ให้ความยินยอม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ในกรณีเจ้าของอวัยวะยังมีชีวิตให้ความยินยอม (2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ในกรณีเจ้าของอวัยวะยังมีชีวิตให้ความยินยอมของต่างประเทศ และประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ในกรณีเจ้าของอวัยวะยังมีชีวิตให้ความยินยอม และ (4) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ในกรณีเจ้าของอวัยวะยังมีชีวิตให้ความยินยอม ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาในการนิยามการค้าอวัยวะของมนุษย์ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าอวัยวะของมนุษย์ไว้โดยเฉพาะ ส่งผลให้การกำหนดนิยามของการค้าอวัยวะมนุษย์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นประโยชน์กับประชาชนในการประพฤติปฏิบัติตนภายใต้กฎหมาย (2) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับรูปแบบการควบคุมการค้าอวัยวะ จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เป็นเพียงการกำหนดการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในลักษณะทั่วไป ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ไว้โดยเฉพาะ ส่งผลให้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมเกี่ยวกับการค้าอวัยวะขาดความชัดเจน (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการค้าอวัยวะ จากการศึกษาพบว่า การค้าอวัยวะมนุษย์ เป็นเรื่องระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือเจ้าของอวัยวะและผู้ที่ต้องการอวัยวะตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน เมื่อเป็นการซื้อขายเกี่ยวกับอวัยวะของมนุษย์ ส่งผลให้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยในสังคม โดยกฎหมายที่สามารถนำมาใช้ลงโทษในการค้าอวัยวะได้ มีเพียงประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดที่ชัดเจน ดังนั้น การค้าอวัยวะมนุษย์ของประเทศไทยในปัจจุบันไม่มีบทกำหนดโทษ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายดังกล่าว ควรมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเกี่ยวกับการค้าอวัยวะมนุษย์ โดยกำหนดให้ (1) มีบทบัญญัติคำนิยามเกี่ยวกับการค้าอวัยวะ (2) ให้มีบทบัญญัติ กำหนดรูปแบบการควบคุมการค้าอวัยวะ กล่าวคือ การห้ามค้าอวัยวะมนุษย์นั้น แต่ไม่รวมถึงผลประโยชน์ เช่น โครงการใด ๆ ที่รัฐบาลให้ผลประโยชน์ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาอวัยวะ กรณีที่อวัยวะเพื่อปลูกถ่ายมาจากบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถปลูกถ่ายได้โดยไม่ต้องมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน การกำหนดรูปแบบเกี่ยวกับการให้ความยินยอมในการบริจาคอวัยวะจากบุคคลที่มีชีวิตอยู่ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน การจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อการปลูกถ่าย ในการทำหน้าที่ตรวจสอบการให้ความยินยอม และการรับทราบข้อมูลความเสี่ยงที่ครบถ้วน และ (3) กำหนดให้มีบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการค้าอวัยวะ และในกรณีเจ้าของอวัยวะให้ความยินยอมโดยบริสุทธิ์ ควรได้รับการพิจารณาในเรื่องโทษ โดยได้รับการยกเว้นโทษ หรือการลดโทษแล้วแต่กรณี
Description: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9251
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.