กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9470
ชื่อเรื่อง: มาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียน ตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: SAFETY CONTROL STANDARDS OF HERBAL PRODUCT REGISTRATION
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริทิพย์ ทองสมุทร
คำสำคัญ: ขึ้นทะเบียนตำรับ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
วันที่เผยแพร่: 2567
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ศิริทิพย์ ทองสมุทร. 2566. "มาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียน ตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายในกรณีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 กรณีผลิตภัณฑ์สมุนไพรไม่มีคุณภาพไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีความปลอดภัย ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพ ประสิทธิภาพของมาตรฐานและเกิดความไม่ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีคุณภาพอีกทั้งยังส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย ผู้เขียนจึงมีความประสงค์จะวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป จากการศึกษา พบปัญหาและอุปสรรคสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น ปัญหากฎหมายการขออนุญาตทะเบียนผลิตภัณฑ์ในการดำเนินงานภายใต้แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) เนื่องจากได้ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากยิ่งขึ้นในการลงทุน และมีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานขนาดเล็ก และขนาดกลางปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ค่อนข้างยาก และปัญหากฎหมายผลิตภัณฑ์จะได้รับอนุญาตได้มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยที่จะต้องได้เกณฑ์มาตรฐานค่าความบริสุทธิ์หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนตำรับ ต้องมีการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งตรวจว่าผลิตภัณฑ์นั้นต้องไม่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เกินเกณฑ์มาตรฐาน และต้องไม่มีการปนเปื้อนโลหะหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานกับห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ซึ่งห้องปฏิบัติการในการที่ผู้มีความประสงค์ขออนุญาตจะส่งผลิตภัณฑ์ตรวจในแต่ละครั้งมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการและทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมาก
รายละเอียด: รูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9470
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น