Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9470
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริทิพย์ ทองสมุทรth_TH
dc.date.accessioned2024-01-13T03:04:22Z-
dc.date.available2024-01-13T03:04:22Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.citationศิริทิพย์ ทองสมุทร. 2566. "มาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียน ตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9470-
dc.descriptionรูปภาพประกอบth_TH
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายในกรณีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 กรณีผลิตภัณฑ์สมุนไพรไม่มีคุณภาพไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีความปลอดภัย ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพ ประสิทธิภาพของมาตรฐานและเกิดความไม่ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีคุณภาพอีกทั้งยังส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย ผู้เขียนจึงมีความประสงค์จะวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป จากการศึกษา พบปัญหาและอุปสรรคสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น ปัญหากฎหมายการขออนุญาตทะเบียนผลิตภัณฑ์ในการดำเนินงานภายใต้แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) เนื่องจากได้ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากยิ่งขึ้นในการลงทุน และมีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานขนาดเล็ก และขนาดกลางปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ค่อนข้างยาก และปัญหากฎหมายผลิตภัณฑ์จะได้รับอนุญาตได้มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยที่จะต้องได้เกณฑ์มาตรฐานค่าความบริสุทธิ์หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนตำรับ ต้องมีการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งตรวจว่าผลิตภัณฑ์นั้นต้องไม่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เกินเกณฑ์มาตรฐาน และต้องไม่มีการปนเปื้อนโลหะหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานกับห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ซึ่งห้องปฏิบัติการในการที่ผู้มีความประสงค์ขออนุญาตจะส่งผลิตภัณฑ์ตรวจในแต่ละครั้งมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการและทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectขึ้นทะเบียนตำรับth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์สมุนไพรth_TH
dc.titleมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขึ้นทะเบียน ตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรth_TH
dc.title.alternativeSAFETY CONTROL STANDARDS OF HERBAL PRODUCT REGISTRATIONth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.