ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างภาคเกษตรกรรม: ศึกษากรณีการตรวจแรงงานในงานเพาะปลูก

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2566

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก แรงงานภาคเกษตรกรรมจึงควรได้รับความสนใจจากภาครัฐ การตรวจแรงงานจึงเป็นมาตรการสำคัญที่ดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งบทบัญญัติการตรวจแรงงานในงานเพาะปลูกตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีความไม่เหมาะสม ไม่ครอบคลุมไปถึงแรงงานทุกประเภทและไม่สอดคล้องกับสภาพลักษณะการทำงานของภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้นในเรื่องบทกำหนดโทษไม่ทำให้นายจ้างเกรงกลัวไม่กระทำความผิดเนื่องจากมีอัตราโทษที่ต่ำและมีการยกเว้นโทษให้แก่นายจ้าง ผู้เขียนจึงทำการศึกษากฎหมายคุ้มครองลูกจ้างภาคเกษตรกรรม เฉพาะกรณีการตรวจแรงงานในงานเพาะปลูก โดยวิธีวิจัยเอกสาร ศึกษาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศและศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และสาธารณรัฐชิลี พบว่า ในต่างประเทศบทบัญญัติการตรวจแรงงานมีความเหมาะสมกับลักษณะการทำงานในภาคเกษตรกรรมและมีมาตรการสำคัญที่ใช้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างภาคเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 โดยกำหนดให้ 1) เพิ่มอำนาจบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนเข้ามามีส่วนช่วยในการตรวจแรงงาน 2) เพิ่มอำนาจในการเข้าตรวจสถานประกอบการทุกช่วงเวลา 3) พัฒนาระบบการตรวจแรงงานให้ครอบคลุมแรงงานเด็กในภาคเกษตรกรรมทุกประเภท 4) แก้ไขอัตราโทษให้สูงขึ้นและยกเลิกการยกเว้นโทษให้แก่นายจ้าง 5) จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลแรงงานในภาคเกษตรกรรมโดยเฉพาะ กำหนดมาตรการรายงานการจ้างงาน เก็บรวบรวมข้อมูลลูกจ้าง จัดทำบัญชีรายชื่อของนายจ้างผู้ละเมิดกฎหมาย และกำหนดให้มีการใช้ค่าเสียหายเชิงลงโทษในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

คำอธิบาย

ตารางประกอบ

คำหลัก

ลูกจ้างภาคเกษตรกรรม, การตรวจแรงงาน, กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

การอ้างอิง

ศศิภา พูนวิทย์. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างภาคเกษตรกรรม: ศึกษากรณีการตรวจแรงงานในงานเพาะปลูก." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.