เอกชัย ดีศิริ1 สมชาย ล้อมพรม1 นายจีราวัฒน์ ฟักอ่อน1 และ ธนภัทร พรหมวัฒนภักดี12020-09-092020-09-092563-08-26http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6930งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาอุปกรณ์ของบันไดเลื่อน และหาแนวทางแก้ปัญหาที่ทำให้บันไดเลื่อนขัดข้องระหว่างการใช้งาน ซึ่งในการทำโครงงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการวิเคราะห์หาสาเหตุของบันไดเลื่อนที่ขัดข้องระหว่างการใช้งานในด้านวิศวกรรมและได้ผลสรุป สาเหตุ มาจากระบบควบคุมของบันไดเลื่อน ซึ่งมีรีเลย์ 220 VAC และ 24VDC เป็นสาเหตุหลัก และส่วนที่ 2 เป็นการนำข้อมูลอุปกรณ์ที่เป็นสาเหตุทำให้บันไดเลื่อนขัดข้องระหว่างการใช้งาน มาหาแนวทางแก้ไข โดยการสร้างเครื่องวัดรีเลย์ จากการทดลองข้างต้น จึงนำเครื่องวัดรีเลย์ที่ออกแบบไปตรวจวัดรีเลย์ ในตู้ควบคุมบันไดเลื่อน ผลจากการวัดและวิเคราะห์รีเลย์ พบว่ามีการชำรุดของรีเลย์ สาเหตุของรีเลย์ชำรุด แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือชำรุดที่ขดลวดและชำรุดที่หน้าสัมผัสของรีเลย์ ซึ่งเกิดจากการใช้งานเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี ส่งผลให้ค่าของ ขดลวด และ หน้าสัมผัสของรีเลย์ มีค่าความต้านทานที่มากขึ้น จากการทดลองและบันทึก มีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงไปจากค่าเดิม และแตกต่างกันในแต่ล่ะขาของหน้าสัมผัสของรีเลย์ และได้พบว่า หน้าสัมผัสของรีเลย์ ที่มีค่ามากกว่า 20 โอห์ม ถือว่ามีการเสื่อมสภาพหรืออาจจะยังใช้งานได้ แต่หากการทำงานของหน้าสัมผัสของรีเลย์ ที่ไม่เสถียร หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้Causes the escalator to crash during operation, check the relay, damage to the relay.การศึกษาและวิเคราะห์บันไดเลื่อนขัดข้องระหว่างการใช้งาน