อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ2562-06-122019-06-122561-092630-0273https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6272งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงศักยภาพการใช้ระบบทำน้ำเย็นแบบดูดกลืนในโรงงานแปรรูปอาหารประเภท ไส้กรอก และเบคอน ซึ่งมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 5,500 ตันต่อปี ชั่วโมงการทำงาน 7,680 ชั่วโมงต่อปี ขั้นตอนกาศึกษาเริ่มจากการหาศักยภาพทางเทคนิคของระบบการผลิต เพื่อหาแนวทางในการใช้ไอน้ำอย่างเหมาะสมพบว่าการปรับปรุงกระบวนการต้มน้ำจากการใช้ไอน้ำผสมโดยตรง สามารถเปลี่ยนเป็นการคายความร้อนผ่านขดท่อจะทำให้มีคอนเดนเสทเหลือพอที่จะนำไปใช้ในเครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดกลืนโดยไม่ส่งผลผลกระทบกับกระบวนการผลิต ผลการประเมินทางเศรษฐศาสตร์พบว่าเมื่อเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นเป็นแบบดูดกลืนทดแทนระบบอัดไอเดิมและใช้ความร้อนทิ้งจากกระบวนการผลิตจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ปีละ 8,711,408 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 0.43 ปี อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 38 ซึ่งผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นเพราะใช้ความร้อนมือสองจากกระบวนการผลิต และโรงงานมีชั่วโมงการทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน อีกทั้งค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสูงถึง 4.11 บาทต่อหน่วย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกับโรงงาน และเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับนำไปใช้ในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นที่มีการใช้พลังงานในลักษณะเดียวกัน ผลของการศึกษานี้จะเหมาะกับโรงงานที่มีความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและในปัจจุบันภาครัฐฯ มีเงินสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่นอัตราส่วนลดด้านภาษีอากรสำหรับอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เงินช่วยเหลือให้เปล่าร้อยละ 20 หรือ 30 สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ผลตอบแทนดีซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้นthโรงงานแปรรูปอาหาร ระบบทำน้ำเย็นแบบดูดกลืน คอนเดนเสทศักยภาพการใช้เครื่องทำความเย็นแบบดูดกลืนในโรงงานผลิตอาหารArticle