ศิรินภา สมภาร2561-04-182018-04-182560ศิรินภา สมภาร. 2560. "ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5519ศิรินภา สมภาร. ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการสอบสวนคดีอาญา (Criminal Inquiry) ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (Administrative or Police Official) ความหมาย หลักการ แนวคิดและทฤษฎี มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของไทยและของต่างประเทศ ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า บทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาถือเป็นหลักทั่วไป (General Principle) เกี่ยวกับอำนาจพนักงานสอบสวน (Investigation Authority) บัญญัติว่า “ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายเขตอำนาจของตนได้” โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาประเภทหนึ่งประเภทใดโดยเฉพาะ จึงทำให้พนักงานสอบสวนดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาทั้งปวง ดังนี้ เจ้าพนักงานที่มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน สำหรับพนักงานสอบสวนในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตามมาตรา 18 นั้น มีทั้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจthการสอบสวนคดีอาญาพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพนักงานสอบสวนอำนาจการสอบสวนปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจPROBLEMS ON AUTHORITY OF CRIMINAL INQUIRY OF ADMINISTRATION OR POLICE OFFICIALThesis