นรังสรรค์ ศิลป์ประกอบ2554-09-042554-09-042554-09-04http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2610วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ถึงปัญหาบางประการในการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืน ความหมายของสิ่งเทียมอาวุธปืน การครอบครอง สิ่งเทียมอาวุธปืน การขอใบอนุญาตในการมี ใช้ พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน และความเหมาะสมเกี่ยวกับ บทกำหนดโทษ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ไม่ครอบคลุมถึงสิ่งเทียมอาวุธปืนในเรื่องของการครอบครอง การขอใบอนุญาตในการมี ใช้ พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน ทำให้การมีสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในความครอบครองหรือพกพาไปในที่สาธารณะทำได้โดยง่ายไม่ยุ่งยาก สิ่งเทียมอาวุธปืนบางชนิดเป็นอันตรายและเป็นภัยร้ายแรงต่อบุคคล ดังนั้น จึงควรมีการบัญญัติควบคุมให้ชัดเจนเช่นเดียวกับอาวุธปืน โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิครอบครองสิ่งเทียมอาวุธปืน นิยามความหมาย คำว่า “สิ่งเทียมอาวุธปืน” ที่เป็นอันตรายที่ต้องการควบคุมไว้เป็นประเภทรวมถึงกำหนดความเร็วในการส่งลูกกระสุนเพื่อกำหนดบทลงโทษ และในเรื่องของการมี ใช้ และพกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน ให้มีการขออนุญาตเช่นเดียวกับอาวุธปืน โดยนำขั้นตอนการขออนุญาตมี ใช้ และพกพาอาวุธปืนมาปรับใช้ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 โดยผ่านองค์กรนิติบัญญัติเพื่อให้มีการกลั่นกรองกฎหมายและเพิ่มกฎกระทรวงในการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งเทียมอาวุธปืนเพื่อรองรับการพัฒนาของสิ่งเทียมอาวุธปืน ควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการมี ใช้ พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในความครอบครองของบุคคล หรือองค์กร และกำหนดบทลงโทษให้มีโทษหนักขึ้น โดยให้มีโทษจำคุกมากกว่าอาวุธปืน เพื่อให้การควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนมีประสิทธิภาพการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนอาวุธปืนมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนThesis