ปิ่นปินัทธ์ จ่าดา2564-05-202021-05-202562-05-20https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7556วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นในแบรนด์ การบอกต่อ ความชอบ และการจดจำแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นในแบรนด์ การบอกต่อ ความชอบ และการจดจำแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลขององค์ประกอบสื่อดิจิทัลที่มีต่อระดับความเชื่อมั่นในแบรนด์ การบอกต่อ ความชอบ และการจดจำแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึงในจังหวัดชลบุรี จำนวน 270 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเชื่อมั่น การบอกต่อ ความชอบ และการจดจำแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันจะมีระดับความเชื่อมั่นในแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่แตกต่างกัน, อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลต่อการบอกต่อแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่แตกต่างกัน, เพศ อายุ ที่แตกต่างกันมีผลต่อความชอบในแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่แตกต่างกัน รายได้ต่อเดือน, ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการจดจำแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่แตกต่างกัน 3) องค์ประกอบสื่อดิจิทัลมีอิทธิพลต่อระดับความเชื่อมั่นในแบรนด์ การบอกต่อ ความชอบ และการจดจำแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05thการจดจำแบรนด์ความเชื่อมั่นแบรนด์การบอกต่อแบรนด์ความชอบในแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชนสื่อดิจิทัลอิทธิพลของสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อการจดจำ ความเชื่อมั่น การบอกต่อ และความชอบในแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีThesis