ภาณุพงษ์ ธนูทองศศิกมล ณรงค์ศักดิ์อาภากร นิลประภาพร2563-07-222020-07-222563ภาณุพงษ์ ธนูทอง, ศศิกมล ณรงค์ศักดิ์, และอาภากร นิลประภาพร. 2562. "การจัดลำดับความสำคัญในการเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6748โครงงานวิศวกรรมโยธาโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหาแบบประเมินท่อจ่ายน้ำประปา เพื่อหาท่อที่มีความเสี่ยงในการแตกรั่วในพื้นที่ โดยใช้วิธีประเมินความเสี่ยง จากเกณฑ์ของแบบประเมิน จะต้องกำหนดปัจจัยในการประเมินออกเป็น 2 ด้านคือ ปัจจัยด้านโอกาสในการเกิดความเสี่ยง และ ด้านผลกระทบจากการเกิดความเสี่ยง โดยใช้ข้อมูลปัจจัยที่การประปานครหลวงมีมาทำการประเมิน ซึ่งปัจจัยด้านโอกาสในการเกิดความเสี่ยง ที่ใช้มีอยู่ 7 ปัจจัย ได้แก่ อายุท่อที่ วัสดุท่อ ขนาดท่อ ความเร็วน้ำภายในท่อ แรงดันสูงสุดที่ใช้งาน ระยะห่างจากสถานีสูบน้ำ และประวัติการแตกรั่ว และปัจจัยด้านผลกระทบจากการเกิดความเสี่ยง ที่ใช้มีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ผู้ใช้น้ำรายใหญ่ในพื้นที่ ปริมาณการใช้น้ำในพื้นที่ และ ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยนำค่าปัจจัยมาให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าน้ำหนัก จากนั้นนำมาวิเคราะห์ท่อจ่ายน้ำในพื้นที่ตัวอย่างตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม ราชการ และอุตสาหกรรม และนำค่าที่ได้ของแต่ละพื้นที่มาประมาณการเพื่อเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำทั่วพื้นที่เขตรับผิดชอบของการประปานครหลวงด้วยวิธีประเมินความเสี่ยง โดยใช้การประมาณค่าจากพื้นที่ผังเมืองกรุงเทพมหานคร พบว่ามีระยะทางของท่อที่มีความเสี่ยงต้องทำการเปลี่ยนทั้งสิ้นประมาณ 3,590 ก.ม. เมื่อคิดเป็นงบประมาณปรับปรุงอยู่ที่ประมาณ 10,770 ล้านบาท โดยเมื่อคิดเป็นงบประมาณในแผนงานระยะเวลา 5 ปี ค่าปรับปรุงจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15.50 ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งมีความเหมาะสมกับงบประมาณในส่วนอื่นthการประเมินความเสี่ยงท่อจ่ายน้ำLikelihood of Failure (LOF)Consequence of Failure (COF)Total Risk Scoreการจัดลำดับความสำคัญในการเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำประปาของการประปานครหลวงRisk Assessment Model for Pipe Replacement in MWA Water Distribution System