ชมพู โกติรัมย์2555-08-102555-08-102555-08-10https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3849เผยแพร่ทางวารสารศรปทุมปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายของคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCED) เพราะตระหนักถึงมหันตภัยทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเจริญพันธุ์ของประชากรที่ขาดดุลยภาพ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เพื่อให้การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยกำหนดให้คนเป็นศูนย์การพัฒนาในด้านอื่นๆ เพราะประชากรกับสิ่งแวดล้อมนับว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมื่อประชากรเติบโตถึงระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและท่วงทำนองการบริโภคที่เน้นความฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่อื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อกระตุ้นการเพิ่มผลผลิตในอัตราที่สูงเพื่อสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ตามแบบทุนนิยมได้มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นับวันถูกทำลายไปพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา (แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นท่ามกลางความตีบตันของการพัฒนาแบบเก่า) เพื่อเสนอให้คนอยู่กับโลกธรรมชาติอย่างกลมกลืนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใหม่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยฐานทางประชากรเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมArticle