พนารัตน์ เหล่าพงศ์เจริญ2561-09-012018-09-012561พนารัตน์ เหล่าพงศ์เจริญ. 2559. "การหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้า กรณีศึกษา : ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหาร." บทความ การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5580หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2559.การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า และ เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น โดยใช้วิธีวิเคราะห์จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง (Center of Gravity Method) เพื่อหาทำเลที่เหมาะสม จุดที่หาได้ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งได้ที่ 146/26 บางแวก แขวงบางไพร เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีคลังสินค้าให้เช่า หรือ ไม่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ เลย จึงได้ทำการขยายขอบเขตของการหาพื้นที่ออกไปในรัศมี 30 กิโลเมตร จากนั้นใช้วิธีประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย (Factor Rating Method) กำหนดตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียแล้ว สามารถสรุปปัจจัยและ น้ำหนักที่จะนำมาพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้ดังนี้ 1.ต้นทุนค่าขนส่ง 18% 2.โครงสร้างพื้นฐาน/ สภาพแวดล้อม 18% 3.ต้นทุนการดำเนินการ 17% 4.ต้นทุนด้านคลังสินค้า 16% 5.ภูมิศาสตร์/ การเข้าถึงลูกค้า 16% 6.การดำเนินธุรกิจ/ กฏระเบียบ 15% ใส่คะแนนให้ปัจจัยต่าง ๆ ในแต่ละสถานที่ตั้ง คำนวนค่าคะแนนกับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย แล้วรวมคะแนนทั้งหมดของแต่ละทางเลือก โดยคลังที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)thการเลือกทำเลที่ตั้งจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงการประเมินปัจจัยการหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้า กรณีศึกษา : ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหารWAREHOUSE LOCATION SELECTION BY USING CENTER OF GRAVITY METHOD AND FACTOR RATING METHOD CASE STUDY : FOOD INGREDIENTS IMPORT BUSINESSArticle