อานนท์ จันทร์ติ๊บ2559-07-252559-07-252559-07-25https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4600"หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม"การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความคาดหวังของนักกีฬามวยสมัครเล่นที่มีต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย และเพื่อเปรียบเทียนกับความคาดหวังของนักกีฬามวยสมัครเล่นที่มีต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักกีฬามวยสมัครเล่นของการกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 50 คน ที่ติดทีมชาติในปี พ.ศ. 2558 เนื่องจากประชากรมีจำนวนน้อย จึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่า t-test ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 52 อายุ 21-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 36 ส่วนระยะการเป็นนักมวยสมัครเล่นของการกีฬาแห่งประเทศไทย 1 - 5 ปี มากสุด คิดเป็นร้อยละ 54 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 29 และโสด คิดเป็นร้อยละ 21 รายได้ต่อเดือน คือ 15,000 – 25,000 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54 วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ได้แก่ ต่ำกว่าปริญญาตรี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 62 มีภูมิลำเนาอยู่ใน ภาคเหนือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54 ผลการศึกษาพบว่าความคาดหวังของนักกีฬามวยสมัครเล่นที่มีต่อการกีฬาแห่งประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือรองลงมาคือ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ด้านความมั่นคงในงาน อันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหารงานและด้านสภาพแวดล้อมการทำงานซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความคาดหวังของนักกีฬามวยสมัครเล่นที่มีต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลกับความคาดหวังในภาพรวมเพศ อายุ สถานภาพ ระยะการเป็นนักมวยสมัครเล่นของการกีฬาแห่งประเทศไทย รายได้ต่อเดือน วุฒิทางการศึกษาและภูมิลำเนา แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองความคาดหวังนักกีฬามวยสมัครเล่นต่อการกีฬาแห่งประเทศไทยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองความคาดหวังของนักกีฬามวยสมัครเล่นต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย : EXPECTATION OF AMATEUR BOXERS TO SPORTS AUTHORITY OF THAILANDArticle