ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร2553-09-072553-09-072552-08https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1861การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ในด้าน เพศ อายุ อายุงาน สถานภาพสมรส รายได้ และระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนทางสังคม กับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมปริทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ เพศ ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอายุงาน สถานภาพสมรส รายได้ และระดับการศึกษา ที่ต่างกัน พนักงานมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติวัฒนธรรมองค์การการสนับสนุนทางสังคมพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาThe Relationship between Organizational Culture, Social Support and Organizational Citizenship Behavior of Industrial Electronics Employees at Rodjana Industrial Park Ayuthaya