อัญญา ศรีสมพร2552-02-132552-02-132551https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1342ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2549การวิจัยเรื่อง “การใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธของหัวหน้าภาควิชา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ดังนี้ 1. ภาวะผู้นำแนวพุทธ โดยศึกษาหลักสัปปุริสธรรม 7 และทศพิธราชธรรม 10 2. การใช้แนวคิดภาวะผู้นำแนวพุทธ 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแนวพุทธมีผลต่อความสำเร็จของงานหรือไม่ 4. การจัดอันดับความคิดเห็นภาวะผู้นำแนวพุทธแต่ละข้อที่มีผลต่อความสำเร็จของงาน และ 5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นหัวหน้าภาควิชา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชน 12 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 66 คน ที่นับถือศาสนาพุทธ โดยหลักธรรมที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่เรื่อง หลักสัปปุริสธรรม 7 และหลักทศพิธราชธรรม 10 ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าภาควิชา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครมีการใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธในการทำงานอยู่ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าภาวะผู้นำแนวพุทธมีผลต่อความสำเร็จในงานของหัวหน้าภาควิชาในระดับมาก และในการจัดอันดับความคิดเห็นภาวะผู้นำแนวพุทธแต่ละข้อที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงาน พบว่าหลักธัมมัญญุตา (รู้หลัก) ในเรื่องสัปปุริสธรรม 7 มีความสำคัญต่อความสำเร็จของงานมากเป็นอันดับ 1 และเห็นว่าหลักอาชชวะ ตามหลักทศพิธราชธรรม 10 มีความสำคัญน้อยที่สุดในบรรดาหลักธรรมทั้ง 17 ข้อ นอกจากนี้ในการทดสอบสมมุติฐานยังพบว่า หัวหน้าภาควิชาที่มีเพศ ระดับการศึกษา อายุ และมีความถี่ในการอ่านหนังสือหลักธรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ในงานต่างกัน มีการใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธไม่แตกต่างกัน อาจเนื่องมาจากชาวพุทธไม่ว่าจะเพศใดการศึกษาเท่าใด อายุต่างกันเท่าใด และจะเคยอ่านหนังสือหลักธรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ในงาน มากน้อยเท่าใด ก็ไม่สำคัญ อยู่ที่ว่าจะสามารถปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมของพระพุทธเจ้าได้มากน้อยเท่าใดภาวะผู้นำแนวพุทธหัวหน้าภาควิชาทศพิธราชธรรมสัปปุริสธรรมBuddhist LeadershipRaja - dhammaSappurisa - dhammaHead of Departmentการใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธของหัวหน้าภาควิชา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครUSING BUDDHIST LEADERSHIP OF HEAD OF DEPARTMENT BUSINESS ADMINISTRATION FACULTY PRIVATE UNIVERSITIES IN BANGKOK