ชุติวัฒน์ ทนทาน2552-08-282552-08-282552-08-28https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1554ด้วยสภาพของสังคมในปัจจุบันมีกรณีที่เด็กตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดทางเพศ หรือการถูกทำร้ายในด้านต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของเด็กอย่างรุนแรง สารนิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎี สิทธิมนุษยชนตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 26 พ.ศ.2550 และปัญหาที่มีผลกระทบจากการสอบสวนเด็กในคดีอาญา ซึ่งได้นำเอาแนวความคิดจากการสอบสวนเด็กในต่างประเทศมากำหนดเป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยมีการกำหนดรูปแบบ ขั้นตอน และรวมถึงวิธีการให้มีลักษณะแตกต่างจากวิธีการสอบสวน การฟ้องร้องและการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป จากการศึกษา พบว่าวิธีการสอบสวนในชั้นพนักงานสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น มีการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากความไม่พร้อมในด้านบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ และวิธีการทำงานตลอดจนรูปแบบองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนรับผิดชอบอย่างเหมาะสม จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลตามเจตนารมณ์อย่างชัดเจน จึงเห็นควรจัดให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติร่วมกันอย่างชัดเจน มีระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยของผู้เสียหายและพยานที่เป็นเด็ก และหน่วยงานพิเศษในแต่ละองค์กร มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะด้าน เพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ต่อไปการสอบสวนผู้เสียหายพยานเด็กปัญหากฎหมายและอุปสรรคเกี่ยวกับการสอบสวน: ศึกษากรณีที่ผู้เสียหาย และหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก