เพ็ญผกา บุตยพรรณ2562-03-082019-03-082562-03-08https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6096บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน 2) ศึกษาระดับการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การของพนักงาน 3) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโดยจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานธุรกิจโรงกลึงแห่งหนึ่งในอาเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จานวน 125 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติพรรณนาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธ์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันองค์การของพนักงานอยู่ในระดับสูง 2) ระดับการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนรายด้าน ได้แก่ ด้านผลตอบแทน ด้านกระบวนการ และด้านปฏิสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน 3) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลจาแนกตาม ตาแหน่งงานและรายได้ที่ได้รับแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การด้านผลตอบแทน การรับรู้ความยุติธรรมด้านกระบวนการ และการรับรู้ความยุติธรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05thการรับรู้ความยุติธรรมความผูกพันต่อองค์การพนักงานโรงกลึงการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงาน โรงกลึงโลหะแห่งหนึ่งในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการPERCEPTION OF ORGANIZATIONAL JUSTICE AFFECTING ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF EMPLOYEES AT A LATHE MILL IN BANGPHLI DISRICT, SAMUTPAKARN PROVINCEThesis